การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, เบตง, ค่าใช้จ่าย, สมการถดถอยเชิงเส้นหลายตัวแปรบทคัดย่อ
ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ซึ่งอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ วัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ ประมาณการค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะจ่ายของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอำเภอเบตง โดยแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นหลายตัวแปร จากการศึกษาพบว่า ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีสัดส่วนการใช้บริการมากที่สุด คือ การเดินป่า ปั่นจักรยาน ชมธรรมชาติ รองลงมาคือ การใช้บริการบ่อน้ำร้อน การเยี่ยมชมโบราณสถานและชุมชนท่องเที่ยว อาหารและโภชนบำบัด และนวดแผนโบราณ โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่นักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะจ่ายมีค่าเท่ากับ 2,587.8 บาท เมื่อพิจารณาตามสัญชาติของนักท่องเที่ยว ผู้วิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมีค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะจ่ายในการใช้บริการเชิงสุภาพมีค่าโดยเฉลี่ย 2,745.5 บาท มากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะจ่ายเพื่อใช้บริการเชิงสุภาพเท่ากับ 2,114.7 บาท ส่วนปัจจัยที่สำคัญที่ตัวกำหนดการใช้จ่ายได้แก่ สัญชาติ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ ช่องทางการรับข้อมูล ลักษณะการเดินทางท่องเที่ยว ที่พักแรม ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ประสบการณ์การใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการเลือกใช้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนั้นผู้ให้บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่จึงควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเป็นลำดับแรก
References
2.กฤษดา อุดมสุข และลีลา เตี้ยงสูงเนิน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของนักท่องเที่ยวชาวอาเซียนในประเทศไทย, วารสารสุทธิปริทัศน์. 32(103), 107-118.
3.กรมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). สถิติการค้าชายแดนผ่านแดน ปี 2561-2563 (ม.ค.-มิ.ย.). สืบค้น 3 กันยายน 2563 จาก https://www.dft.go.th/bts/show-detail-bts/ArticleId/15907/-2561-2563-1
4.ปวรพัชร รัตน์รุ่งเรืองยศ และรุ่งระวี วีระเวสส์. (2559). ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวในประเทศไทย ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 13(2), 158-166.
5.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด อัครพงศ์ อั้นทอง, พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์, กุลดา เพ็ชรวรุณ และนุกูล เครือฟู. (2556) เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
6.สำนักงานปลัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว Tourism Economic Review. สืบค้น 6 ธันวาคม 2561, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=762
7.Breidert, C., Hahsler, M., & Reutterer, T. (2006). A Review of Methods for Measuring Willingness-to-Pay. Innovative Marketing, 2(4), 8-32
8.Global Wellness Institute (2018), Global Wellness Tourism Economy, November 2018 สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2562 จาก https://globalwellnessinstitute.org/wp-content/uploads/2018/11/
GWI_GlobalWellnessTourismEconomyReport.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This article has been published in the Journal of Humanities and Social Sciences at Prince of Songkla University, Pattani Campus.