กระบวนการและแนวทางการบูรณาการความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์กับการเรียนรู้มรดกโลกอยุธยาสำหรับนักเรียนระดับประถม: มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการบูรณาการความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์กับการเรียนรู้มรดกโลกอยุธยาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์กับการเรียนรู้มรดกโลกอยุธยา โดยเป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้และความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ 5 คนและ
ด้านประวัติศาสตร์และมรดกโลกอยุธยา 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการบูรณาการความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์กับการเรียนรู้มรดกโลกอยุธยาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาเกิดขึ้นใน 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับเขตพื้นที่การศึกษามีบทบาทในฐานะตัวกลางที่นำนโยบายมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ 2) ระดับโรงเรียน
มีบทบาทในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3) ระดับชั้นเรียนมีการออกแบบกิจกรรม
การเรียนรู้ที่บูรณาการคณิตศาสตร์กับมรดกโลกอยุธยา และ (2) แนวทางการบูรณาการสามารถดำเนินการได้ใน 4 มิติหลัก ได้แก่ 1) การบูรณาการเชิงเนื้อหา เป็นการผสมผสานความฉลาดรู้
ด้านคณิตศาสตร์กับ และมรดกโลกอยุธยาเข้าด้วยกัน 2) การบูรณาการเชิงบริบท เป็นการนำสภาพแวดล้อมและบริบทของมรดกโลกอยุธยาเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้
ด้านคณิตศาสตร์ 3) การบูรณาการเชิงวิธีการเป็นการใช้เทคนิคและวิธีการสอนเชิงรุกที่ผสมผสานระหว่างการสอนคณิตศาสตร์และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ 4) การบูรณาการเชิงปฏิบัติการ เป็นการจัดกิจกรรมและโครงงานที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2562). รายงานสถานการณ์การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กระทรวงวัฒนธรรม.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา. https://shorturl.asia/zO3QJ
ชาย โพธิสิตา. (2562) . ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
มะลิวรรณ งามยิ่ง, รุ่งทิวา แย้มรุ่ง และ ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2564). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(11), 349-361. https://shorturl.at/UHRoo
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2567, 7 กุมภาพันธ์). ผลการประเมิน PISA 2022. กระทรวงศึกษาธิการ. https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2022-summary-result/
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2564). รายงานผลการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจในคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของเยาวชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กระทรวงวัฒนธรรม.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Beane, J. A. (1997). Curriculum integration: Designing the core of democratic education. Teachers College Press.
Boaler, J. (2015). Mathematical mindsets: Unleashing students' potential through creative math, inspiring messages and innovative teaching. Jossey-Bass.
Drake, S., & Burns, R. (2004). Meeting standards through integrated curriculum. Association for Supervision and Curriculum Development.
Fogarty, R. (1991). How to integrate the curricula. Skylight Publishing.
Freudenthal, H. (1973). Mathematics as an educational task. Reidel Publishing Company.
Fullan, M. (2016). The new meaning of educational change (5th ed.). Teachers College Press.
Hargreaves, A., & Fullan, M. (2012). Professional capital: Transforming teaching in every school. Teachers College Press.
Hmelo-Silver, C. E. (2004). Problem-based learning: What and how do students learn? Educational Psychology Review, 16(3), 235-266.
Lave, J., & Wenger, E. (1991). Situated learning: Legitimate peripheral participation. Cambridge University Press.
Macmillan, T. T. (1971). The Delphi technique. Paper presented at the annual meeting of theCalifornia Junior College Associations Committee on Research and Development, Monterey, California.
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM) (2000). Principles and Standards. Reston, VA: NCTM
OECD (2019). PISA 2018 Results (Volume I): What Students Know and Can Do, PISA, OECD Publishing, Paris, https://shorturl.at/bvGN8
OECD (2023), PISA 2022 Assessment and Analytical Framework, PISA, OECD Publishing, Paris, https://shorturl.at/je1rQ
Piaget, J. (1967). Biology and knowledge. University of Chicago Press.
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. John Wiley & Sons.
UNESCO. (2020). Education for sustainable development: A roadmap. https://doi.org/10.54675/YFRE1448
Van Eck, R. (2006). Digital game-based learning: It's not just the digital natives who are restless. EDUCAUSE Review, 41(2), 16-30.