การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนใน จ.สงขลา

Main Article Content

ยูโสบ ดำเต๊ะ
เอกราช มะลิวรรณ์
สืบสกุล ใจสมุทร
อันสอด หลับด้วง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนจังหวัดสงขลา
มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนจังหวัดสงขลา              2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชน จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่าง ใช้การทดสอบค่าที (T-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ ประชาชนในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ซึ่งผู้วิจัยกำหนดให้ระดับความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน


ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงข้อที่ 1 พฤติกรรมการออกกำลังกายของประชนสูงสุดคือ เลือกประเภทของการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของวัย ( = 4.05, S.D.=.941) รองลงมาคือ สวมใส่เครื่องแต่งกายด้วยเสื้อ กางเกงและรองเท้าที่เหมาะสมกับการออกกำลังกาย ( = 3.97, S.D.=.952) ส่วนน้อยที่สุดคือ ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ( = 3.28 S.D.=1.038) วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาสูงสุดคือ ปัจจัยความรู้ด้านการออกกำลังกาย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ค่าดัชนีมวลกาย ส่วนรายได้และอาชีพไม่มีผลต่อพฤติกรรม
การออกกำลังกาย ตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายประชาชนในจังหวัดสงขลา มี 5 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยความรู้ด้านการออกกำลังกาย ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์จากการออกกำลังกาย ปัจจัยสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ ปัจจัยการสนับสนุนจากคนรอบข้าง สามารถอธิบายพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนคิดเป็น 90.5 %

Article Details

How to Cite
ดำเต๊ะ ย., มะลิวรรณ์ เ., ใจสมุทร ส., & หลับด้วง อ. (2025). การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนใน จ.สงขลา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 7(1), 13–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/280762
บท
บทความวิจัย

References

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2545). คู่มือผู้นำการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. ไอเดียสแคว์.

เฉลิมพล ตันสกุล. (2541). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์.

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2564, มกราคม 2). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรมอนามัย. https://hpc11. anamai.moph.go.th/th/sa-suk-11/200024

ญาโณทัย ใจกลาง, ก้องเกียรติ เชยชม และรายาศิต เต็งกูสุลัยมาน. (2566). พฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(1), 101-114. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/259215

ดรุณวรรณ สุขสม. (2561). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธีระศักดิ์ ทรัพย์ประเสริฐ และจันทนา แสนสุข. (2564). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนที่มาใช้บริการสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(2), 299-314. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/251947

พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันท์. (2557, มิถุนายน 16). การออกกำลังกายต่างวัย. https://bit.ly/3djUH8Z

ภาสกร วัธนธาดา. (2560). หลักการพื้นฐานของการออกกำลังกาย. https://www.haijai.com/2387/

วัฒนา สุทธิพันธุ์. (2548). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนใน สวนสาธารณะและสนามกีฬาในกรุงเทพมหานคร: รายงานการวิจัย. ภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560, ตุลาคม 3). ขยับกับออกกำลังกายต่างกันอย่างไร. https://www.thaihealth.or.th/?p=230169

สำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา. (2567). สถิติประชากรจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2566. https://songkhla. nso.go.th/

อนุสรณ์ ส่องแสง, วราภรณ์ จันทร์พราว, ดิศพล บุปผาชาติ และเด่นดวง ดีศรีสุระ. (2566). พฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 10. วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี, 62-83. https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/ view/10(1), 1601

อาภรณ์ รับไซ. (2560, พฤษภาคม 17). พฤติกรรม (Behavior). http://www.scimath.org/lesson-biology/item/7001-behavior-7001.

Hair, J. F., Money, A. H., Samouel, P., & Page, M. (2006). Research methods for business. John Wiley & Son, Ltd.

Pedersen, B. K, & Saltin, B. (2006). Evidence for prescribing exercise as therapy in chronic disease. Scandinavian journal of medicine & science in sports, 16(51), 3-63. https://doi.org/10.1111/j.1600-0838.2006.00520.x

Sallis, J. F., Bauman, A., & Pratt, M. (1998). Environmental and policy interventions to promote physical activity. American Journal of Preventive Medicine, 15(4), 379-397. https://doi.org/10.1016/S0749-3797(98)00076-2

Sekaran, U., & Bougie, R. (2016). Research methods for business: A skill building approach. john wiley & sons.

World Health Organization. (2020). WHO guidelines on physical activity and sedentary behaviour. World Health Organization.