การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอก
การประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มี
ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษาจำนวน 7 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย นักการศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก
ด้านหลักสูตรและการสอน มีประสบการณ์ทำงาน ไม่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 5 คน ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาและอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา จำนวน 2 คน จบการศึกษาตรงวุฒิมีประสบการณ์สอนไม่ต่ำกว่า 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 23 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ (1) องค์ประกอบด้านการกำหนดเนื้อหาสาระ มี 3
ตัวบ่งชี้ (2) องค์ประกอบด้านการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ มี 3 ตัวบ่งชี้ (3) องค์ประกอบด้าน
การคัดเลือกและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 7 ตัวบ่งชี้ (4) องค์ประกอบด้านการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน มี 5 ตัวบ่งชี้ (5) องค์ประกอบด้านการกำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล มี 5 ตัวบ่งชี้ และ 2) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและองค์ประกอบและตัวบ่งชี้
มีความสอดคล้องกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2017). สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์, 45(4), 142-163. https://doi: 10.58837/CHULA.EDUCU.45.4.9
ศิตา เยี่ยมขันติถาวร และจรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2567). การศึกษาข้อผิดพลาดการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตแขนงหลักสูตรและการสอน เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 6(1), 45-60. https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/913
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในข้าราชการพลเรือน:คู่มือสมรรถนะหลัก. บริษัทประชุมช่าง จำกัด.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักพิมพ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2555). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 115-127.
Good, C. V., Merkel, W. R. & Kappa, P. D. (1973). Dictionary of Education. McGraw – Hill Book Inc.
Colman, A. M. (2015). A dictionary of psychology (4th ed.). Oxford University Press.
Mason, J. (2002). Researching your own practice: The discipline of noticing.
Mathematics Teacher Education, 6(1), 77-91. https://doi:10.1023/A:1022107814447
Randall, M., & Thornton, B. (2001). Advising and Supporting Teachers (3rd ed.). Cambridge
University Press.
Sim, R. C., & Koszalka, T. A. (2008). Competencies for the New-Age Instructional Designer.
Handbook of Research on Educational Communications and Technology, 3,
-575. https://doi.org/10.4324/9780203880869-47
Smith, P. L., & Ragan, T. J. (2005). Instructional design. John Wiley & Son Inc.
Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O. (2004). The Systematic Design of Instruction (6th ed.). Allyn &
Bacon.