การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสในโรงเรียนมัธยมสงฆ์วัดผาโอ นครหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส 2) พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส และ 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส
ในโรงเรียนมัธยมสงฆ์วัดผาโอ นครหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า นำเสนอแบบอธิบายและพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสเริ่มจากการประเมินและระบุปัญหา จากนั้นวางแผนการพัฒนา สู่การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ มีการติดตามและประเมินผลเพื่อทราบถึงระดับความสำเร็จและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสในการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเกี่ยวกับความเข้าใจและเรียนรู้การใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมและสร้างการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ การสุขาภิบาลและอนามัยแวดล้อมของโรงเรียน โดยให้ความสำคัญกับความสะอาดและความปลอดภัยในโรงเรียน การส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สร้างแปลงเกษตรกรรมในโรงเรียน การพัฒนากิจกรรมเกี่ยวกับการทดลองปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อยหรือร่วมการปฏิบัติงานจริงในสวนผัก 3. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสเป็นการเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่น จัดอบรมจากผู้มีความเชี่ยวชาญ มีโรงเรียนเป็นศูนย์กลางการศึกษารวมเข้ากับการฝึกทักษะอาชีพ การสร้างมูลค่าจาการฝึกอาชีพและทักษะการทำงาน จัดกิจกรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นในการเยี่ยมชมวัดและสถานที่ประวัติศาสตร์ การเสริมพลังคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา 4
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑาทิพย์ พลเยี่ยม, วัชรินทร์ สุทธิศัย และสิทธิพรร์ สุนทร. (2567). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพนักเรียนในครอบครัวยากจน กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Modern Learning Development, 9 (1), 203-217.
ฉัตรชัย บุษบงค์, พรพิมล นามวงศ์, ชนม์ธิดา ยาแก้ว, กรกนก มักการุณ และไพศาล คงสถิตสถาพร. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในชุมชนโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. ใน รายงานการวิจัย. สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ชุติพร เหล็กคำ. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 57 จังหวัดเพชรบูรณ์สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ใน รายงานการวิจัย. เพชรบูรณ์: กระทรวงศึกษาธิการ.
พระสมพร ฉนฺทสีโล, พระโสภณพัฒนบัณฑิต, โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ และพระมหาสำรอง สญฺญโต. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในชุมชนบ้านหนองไฮ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตามหลักภาวนา 4. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 78-92.
สภาแห่งชาติลาว. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี 1991 ฉบับปรับปรุงถึงปี 2003. สืบค้น 30 ธันวาคม 2565. จาก https://th.wikisource.org/wiki.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส จากประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ.
Berelson, D. (1952). Content Analysis in Communicative Research. New York: The Free Press.
Comte, A. (1976). The Foundation of Sociology. London: Nelson.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harpers and Row.
Holsti, O. R. (1969). Content Analysis for the Social Science and Humanities. Massachusetts: Addison–Wesley.