การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ รายวิชาผู้นำนันทนาการ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา

Main Article Content

ทรงภพ เพชรอาวุธ
ชนาธิป ชูอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ รายวิชาผู้นำนันทนาการ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้ รายวิชาผู้นำนันทนาการ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา จำนวน 1 กลุ่มเรียน ทั้งหมด 35 คน ได้มาจากการเลือกแบบมีจุดประสงค์ (Purposive Selection) เป็นการคัดเลือกกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงตามหลักการของเหตุผลในการพัฒนานักศึกษาเป็นผู้นำนันทนาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาผู้นำนันทนาการ 2) เอกสารประกอบการสอน รายวิชาผู้นำนันทนาการ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชาผู้นำนันทนาการ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาผู้นำนันทนาการ และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่า t-test (Dependent Sample)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ รายวิชาผู้นำนันทนาการ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจจากการจัดการเรียนรู้ รายวิชาผู้นำนันทนาการ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.57, S.D. = 0.60)

Article Details

How to Cite
เพชรอาวุธ ท. ., & ชูอักษร ช. . (2024). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ รายวิชาผู้นำนันทนาการ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(3), 593–607. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/279222
บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2564). การจัดกิจกรรมนันทนาการ. กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา.

กรมพลศึกษา. (2566). แผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566–2570). กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เก่งกาจ เกลี้ยงแก้ว และคณิต เขียววิชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Humanities Social Sciences and arts, 12(1), 548-564.

คฑาวุธ ด้วงปลี. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา นันทนาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เรื่อง ลักษณะและบทบาทของผู้นำนันทนาการการของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปีที่ 2. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง.

ทรงภพ เพชรอาวุธ. (2566). เอกสารประกอบการสอน วิชา 00018004 ผู้นำนันทนาการ. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิขัย.

ไพศาล วรคำ. (2564). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2565). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ปรับปรุง 2565). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2563). หลักการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2565). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Herzberg, Frederick and others. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and. Sons.

Hayashi, A., and Ewert, A. (2013). Development of Emotional Intelligence through an Outdoor Leadership Program. Journal of Outdoor Recreation Education and Leadership, 5(1), 3-17.

Smith, P., and Ragan, T. (1999). Instructional design. New York: John Wiley &. Sons.