การสรรหาบุคลากรเชิงรุก

Main Article Content

นภัสภรณ์ มูลสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการสรรหาเชิงรุกตามทัศนะของบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการยืนยันองค์ประกอบการสรรหาเชิงรุกโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล และผู้อำนวยการโรงเรียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีจับคู่แบบกลุ่ม ในอัตราส่วน 1:1 มีผู้ให้ข้อมูลเขตละ 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูล 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ                 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถามความคิดเห็น 3) แบบสอบถามเพื่อยืนยันผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีแผนแบบการวิจัยในลักษณะการศึกษาแบบกลุ่มกลุ่มตัวอย่างเดียวตรวจสอบสภาวการณ์ไม่มีการทดลอง


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การสรรหาบุคลากรเชิงรุกตามทัศนะของบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 “ความพร้อมในการสรรหาบุคลากรเชิงรุก มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ 1.1 “ประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรเชิงรุก” 1.2 “แนวปฏิบัติการสรรหาบุคลากรเชิงรุก” และ 1.3 “เทคนิควิธีการสรรหาบุคลากรเชิงรุก” องค์ประกอบที่ 2 “การดำเนินการสรรหาบุคลากรเชิงรุก” มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ 2.1 “เครื่องมือการสรรหาบุคลากรเชิงรุก”                 2.2 “กิจกรรมการสรรหาบุคลากรเชิงรุก” และ 2.3 “ช่องทางการสรรหาบุคลากรเชิงรุก องค์ประกอบที่3 “หลักเกณฑ์การสรรหาบุคลากรเชิงรุก” ทุกองค์ประกอบอธิบายได้ร้อยละ 68.618 และ 2) ผลการยืนยันการสรรหาบุคลากรเชิงรุกโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า โดยภาพรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์

Article Details

How to Cite
มูลสิน น. . (2024). การสรรหาบุคลากรเชิงรุก. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(2), 416–430. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/278153
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ปารดา นาครักธรรม. (2564). แนวทางการสรรหาบุคลากรเชิงรุกในยุค New Normal: กรณีศึกษากระทรวงการต่างประเทศ. บทความวิจัยโครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2564_1661151592_6314832031.pdf.

พวงผกา แสงเงิน. (2561). ปัจจัยการคัดสรรผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของกรุงเทพมหานคร(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. 6 เมษายน 2560.

วีรชัย ดีงาม. (2563). การสรรหาบุคลากรเชิงรุกสายวิชาชีพแพทย์ของสำนักอนามัย. ใน เอกสารการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารมหานครระดับต้น รุ่นที่ 36. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาข้าราชการ.

สมพิศ ทองปาน. (2559). HR เชิงรุกในยุคของการเปลี่ยนแปลง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 245 - 258.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2558). การดำเนินการสรรหาเชิงรุก Proactive Recruitment Strategy. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สรรหาและเลือกสรร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). การสรรหาเชิงรุกของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา. การประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาพผู้แทนราษฏร.

สุชานุช พันธนียะ และพฤฒ ยวนแหล. (2564). นวัตกรรมการสรรหาคนที่ “ใช่”: กระแสโลกและความท้าทายของราชการไทย. วารสารการบริหารและการจัดการนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 9(1), 22-34.

Best, J. W., and Kahn, J. V. (2016). Research in Education. (10th ed.). Massachusetts: Pearson Education Inc.

Beyl, C. A., Adams, A. F., & Smith, E. G. (2016). A proactive model for recruiting students into agriculture disciplines. NACTA Journal, 60(1), 51-59.

Chopra, D. (2022). 5 Proactive Recruitment Strategies to Hire the Best Talent. Retrieved April 13, 2022. From https://www.adaface.com/blog/proactive-recruitment/.

Donnelly, N. S. (2014). Strengthening the employer brand image -Experimentation of proactive recruitment related activities (Master in Marketing Buskerud). Vestfold, Norway: Vestfold University College.

Kristanto, D. G. (2022). Implementation of Proactive Recruitment Program for Indonesia National Police (POLRI) Candidates at Regional Police of the Riau Islands. Faculty of Administration Sciences, Universitas Indonesia, 4(4), 616-625.

Kurniawan, A. (2023). Implementation of affirmative action policy in the proactive recruitment program for the border area in the Implementation of the selection of police non-commissioned officers at the Riau Islands Regional Police in 2020. International Journal of Economics, Business and Accounting Research. 7(1). 1-8.

Nadherny, C. (2017) The Proactive Executive A C-suite recruiter’s 5-step system for achieving greater career success. South Carolina: Bublish Inc. 1 - 142.

Prakoso, Y., and Juwono, V. (2022). Analysis of Implementation Proactive Recruitment in NCO POLRI Recruitment and Selection at Regional Police of the Bangka Belitung Islands. Budapest International Research and Critics Institute Journal, 5(2), 11735–11741.

Samad, F. (2023). Evaluation of the Proactive Recruitment Program Innovation of the Indonesian National Police. KnE Social Sciences, 336-347.

Siker, P. (2007). Proactive Recruiting In A War For Talent Economy. Virginia: Advanced Recruiting Trends.