การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Design Thinking สำหรับผู้ประกอบการฟาร์มเห็ดสมัยใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Design Thinking สำหรับผู้ประกอบการฟาร์มเห็ดสมัยใหม่ 2) เพื่อนำหลักสูตรฝึกอบรมนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Design Thinking สำหรับผู้ประกอบการฟาร์มเห็ดสมัยใหม่ไปทดลองใช้จริง และ 3) เพื่อประเมินและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Design Thinking สำหรับผู้ประกอบการฟาร์มเห็ดสมัยใหม่ เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย และการฝึกอบรม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 คน และผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาหลักสูตรต้องมีความเหมาะสมและสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้โดยมีหลักการและแนวคิดในเชิงบริหารจัดการที ่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาฟาร์มสำหรับผู้ประกอบการสมัยใหม่ และทำการร่างเป็นหลักสูตรฝึกอบรมนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Design Thinking สำหรับผู้ประกอบการฟาร์มเห็ดสมัยใหม่โดยมีองค์ประกอบหลัก 7 ด้าน ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) หลักการของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 5) กิจกรรมในการฝึกอบรม 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 7) การวัดและประเมินผล 2. สมรรถนะของผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในระดับมาก ผู้เข้าอบรมมีคะแนนกระบวนการการฝึกอบรมโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 378.17 คิดเป็นร้อยละ 80.46 โดยหลักสูตรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์ของหลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 80.46/ 80.11 ผ่านเกณฑ์ 80/ 80 และผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมโดยรวมในระดับมาก และ 3. ผลการประเมินการใช้หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: อลีน เพรส.
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ. (2555). การเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเปเปอร์เฮาส์.
ทับทิมทอง กอบัวแก้ว, เกริกเกียรติ กอบัวแก้ว และสมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2566). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 7(1), 1-13.
นภัทร์ แก้วนาค. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล (Qualitative Data Analysis Technic). เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
นุชจรี กิจวรรณ. (2561). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ: มุมมองใหม่ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 33(1), 5-14.
พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์ จํากัด.
วิชชาพรรณ กิ่งวัชระพงศ์, ชนะ กสิภาร์, สมยศ เจตน์เจริญรักษ์ และศิริพรรณ ชุมนุม. (2554). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ด้านการโรงแรมและบริการ งานบริการส่วนหน้า ตามมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(2), 377-386.
ศิวะลักษณ์ มหาชัย และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(2), 168-185.
สงัด อุทรานันท์. (2552). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสนาะ ติเยาว์. (2543). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เส้นทางเศรษฐีออนไลน์. (2567). “กระท่อมเห็ด ฟาร์ม” จากศูนย์เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สู่การยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่ม. สืบค้น 30 มีนาคม 2567. จาก https://www. sentangsedtee.com/job-is-money/article_260922.
สุกิจ ชัยมุสิก, เสนีย์ คําสุข และอารดา ฉิมมากูร. (2564). กระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตร์ ที่พึงประสงค์ในบริบทสังคมไทยยุคดิจิทัล. วารสารพุทธมัคค์, 6(2), 64-76.
สุมัยย๊ะ สาแอ. (2565). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิทยาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สมศักดิ์ วาทินชัย. (2566). การบริหารจััดการธุุรกิจสตาร์ทอััพให้ประสบผลสำเร็จ. รัฏฐาภิรักษ์, 65(2), 119-132.
อัฐวุฒิ จ่างวิทยา. (2561). วิวัฒนาการของการคิดเชิงออกแบบ: จากกลยุทธการแก้ไข้ปัญหาของภาคธุรกิจ สู่องค์ความรู้ในภาควิชาการ และการไปสู่การย่อส่วนเพื่อนำไปปฏิบัติจริงในพื้นที่. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University, 11(3), 1944–1957.
Abdullah, S., Musa, C, & Azis, M. (2017). The effect of organization culture on entrepreneurship characteristics and competitive advantage of small and medium catering enterprises in Makassar. International Review of Management and Marketing, 7(2), 409-414.
DESIGN THINKING AT MARRIOTT. (2017). Retrieved Oct 1, 2023, from https://www. seasiacenter.com/insights/blog/design-thinking-at-marriott/.
Hodgetts, R. M., Kuratko, D. F. and Hornsby, J. S. (1999). Quality implementation in small business: Perspectives from the Baldrige award winners. SAM Advanced Management Journal, 64(1), 37-47.
Kelley, T., & Kelley, D. (2014). Creative Confidence. London: William Collins.
Longenecker, J. G., & Moore, C. W. (1991). Small business management: An entrepreneurial emphasis.
Nillapun, M., Phivitayasirithum, C., Vanichwatanavorachai, S., Songserm, U. (2013) An Evaluation of a Capacity Building Programe of English Teachers in Thailand. Journal of education Silpakorn university, 10(2), 43-57.
Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (1993). Curriculum: Foundations, principles, and issues.
Parkay, F. W., & Hass, G. (1999). Curriculum planning: A contemporary approach. Boston: Allyn and Bacon.
Saylor, J. Galen and Alexander, William M. (1974). Curriculum Planning for Modern Schools. New York: Holt Rinehart and Winston.
Taba, H., & Spalding, W. B. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World.
Tyler, R.W. (1969). Basic principle of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago press.