ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบองค์กร 7-S กับคุณลักษณะพื้นฐานองค์กร 8 ประการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแข่งขันทางธุรกิจที่มีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ เผชิญกับปัญหาและความท้าทายที่เพิ่มขึ้น ผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจถึงลักษณะการจัดการองค์กรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาเนื้อหาของแนวคิดองค์ประกอบองค์กร 7-S และ คุณลักษณะพื้นฐานองค์กร 8 ประการ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบองค์กร 7-S และ คุณลักษณะพื้นฐานองค์กร 8 ประการ โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและ เชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม ผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก จำนวน 419 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เพศชาย อายุ 30-40 ปี การศึกษา ปริญญาตรี ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่าย เวลาปฏิบัติงาน 10-20 ปี สำหรับแนวคิดองค์ประกอบองค์กร 7-S และคุณลักษณะพื้นฐานองค์กร 8 ประการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝒙̅ = 4.21) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบองค์กร 7-S และคุณลักษณะพื้นฐานองค์กร 8 ประการ ได้แก่ 1) ระบบและวิธีการปฏิบัติงานโดยการมุ่งเน้นการปฏิบัติ 2) กลยุทธ์องค์กรมีความใกล้ชิดลูกค้า 3) บุคลากรมีอิสระในการทำงาน 4) รูปแบบการจัดการ 5) ค่านิยมร่วม 6) โครงสร้างองค์กรเป็นรูปแบบเรียบง่าย 7) ความชำนาญอันเกิดจากการเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เห็นว่ามีความสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้บริหารมีความเข้าใจหลักการ การจัดการองค์กร มาใช้เป็นพื้นฐานในการบริหารงาน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2565). บริการข้อมูล. https://www.diw.go.th/webdiw/s-data/.
ธีรพงศ์ ประดิษฐ์กุล. (2563). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่.วารสารการพิมพ์ไทย. ฉบับที่ 128. 17 ธันวาคม 2563. https://www.thaiprint.org/2020/12/vol128/knowledge128-03/.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์ พับบลิเคชั่น.
วีรชัย ตันติวีระวิทยา. (2537). ดั้นด้นหาความเป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). บริษัท เอช.เอ็น. กรุ๊ป จำกัด.
ศิระ โอภาสพงษ์. (2539). ค้นหาความเป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัทคู่แข่ง จำกัด.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2555, 23 มิถุนายน). การบริการด้วยหัวใจ. https://www.gotoknow.org/ posts/425881
สหธร เพชรวิโรจน์ชัย. (2564, 4 มิถุนายน). วัฒนธรรมองค์กร. https://th.hrnote.asia/ orgdevelopment/what-is-organizational-culture-210604/#2_Values.
ฤทธิชัย บุญธรรม และวิไลลักษณ์ เรืองสม. (2562). รูปแบบการบริหารงานแบบ 7s framework กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร ครั้งที่ 2. (น. 2116-2126). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Best John W. and Khan, Jame V. Research in Education. (8th ed.). Boston: Allyn & Bacon,1998
Daft, R. L. (2004). Organization Theory and Design. (8th ed.). RR Donnelley & Sons Company Willard.
Likert, R. (1967). The human organization: its management and values. McGraw-Hill, Publishers Inc.
Michalski, A. (2011). The McKinsey 7-S Framework: Invented in the 1980s and Still a Possibility for Success Today. GRIN.
Peters, T. J., & Waterman, R. H. (1982). In search of excellence: lessons from America’s best-run companies. Harper & Row Publishers Inc.
Winstanley, D., & Stuart‐Smith, K. (1996). Policing performance: the ethics of performance management. Personnel Review, 25(6), 66-84. https://doi.org/ 10.1108/00483489610148545.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory analysis (4th ed.). Harper and Row Publication.