ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลความจงรักภักดี ต่อตราสินค้าในการเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย บริเวณหมู่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าในการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยบริเวณหมู่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าในการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยบริเวณหมู่เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม จำนวน 112 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยเพศหญิง เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523 - 2540 (Generation Y) สถานภาพโสด อาชีพเป็นพนักงานเอกชน การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 20,000 - 30,000 บาท มาเพื่อการพักผ่อน มีระยะเวลาในการเข้าพัก 2 คืน และความถี่ในการเข้าพัก 1-2 ครั้งต่อปี สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ( = 3.83) ด้านราคา ( = 3.87) ด้านการจัดจำหน่าย ( = 3.92) และด้านการส่งเสริมการตลาด ( = 3.85) สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าโดยรวมมีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาด้านการส่งเสริมการตลาดโดยด้านราคามีอิทธิพลทางบวกสูงสุด (Beta = 0.300) รองลงมาคือด้านการส่งเสริมการตลาด (Beta = 0.267) และด้านผลิตภัณฑ์ (Beta = 0.219) ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สืบค้น 19 สิงหาคม 2566. จาก https://www.mots.go.th.
กรุงศรี. (2567). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2567-2569: ธุรกิจโรงแรม. สืบค้น 12 เมษายน 2567. จาก https://www.krungsri.com/th/research/.
กรุงศรี. (2567). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2562 - 2564: ธุรกิจโรงแรม. สืบค้น 20 สิงหาคม 2566. จาก https://secretary.mots.go.th/policy/.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว. สืบค้น 19 สิงหาคม 2566. จาก https://secretary.mots.go.th/policy/.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวปี 2566. สืบค้น 23 สิงหาคม 2567. จาก https://secretary.mots.go.th/policy/.
กรรณณิกา ผลเจริญ. (2563). ปัจจัยการรับรู้คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการที่พักราคาประหยัดในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวชาวเอเชียกับชาวยุโรป (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จักรพงศ์ มหพันธุ์ และคณะ. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าร้านอาหารฟาร์มเฮ้าส์ จังหวัดระนอง. ในการประชุมงานวิชาการระหว่างประเทศ, ที่ 14, เล่มที่ 2, น. 338.
ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธานินทร์ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วีอินเตอร์พริ้นทร์กรุงเทพมหานคร.
บุญญาพร ศรีประเสริฐ และคณะ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสดบนแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 62-77. Doi: https://doi.org/10.14456/sb-journal.2023.5.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
รุ่งรวี คล้ายสุวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยวของ นักท่องเที่ยวชาไทยในจังหวัดชลบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุทธิสินี ถิระธรรมสรณ์ และฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุของกลยุทธ์การตลาดบริการที่มีผลต่อคุณภาพการบริการและความจงรักภักดี ต่อการบริการที่พักประเภทโรงแรมและรีสอร์ท ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 28(1), 49-64.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี. (2566). 7 เดือน ชลบุรีรับนักท่องเที่ยวทะลักสิบกว่าล้านคน. สืบค้น 20 สิงหาคม 2566. จาก https://www.chonburipr.net/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2567). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศรายปี. สืบค้น 23 สิงหาคม 2567. จาก https://ittdashboard.nso.go.th/.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2548). การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ท็อป.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด.
ศุภวัชร์ พงษ์วัชรวัชฬ์ และคณะ. (2566). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและความพึงพอใจในมาตรการจัดการโรคโควิด-19 ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าในการใช้บริการคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุทธิปริทัศน์. 37(1), 93-108.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อินทุกานต์ หมอกขาว. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าบริษัท ชลบุรีฟอร์คลิฟท์ เอเชียจำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd Ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Kotler, P., & Keller, K. (2003). Marketing Management, (international version). In: Prentice Hall, Englewood Cliffs, NJ.
Philip Kotler and Armstrong Gray. (2010). Principles of Marketing. 13th ed. New Jersey: Pearson.
Thethinkwise. (2023). ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย สำหรับคนทำโรงแรม. สืบค้น 23 สิงหาคม 2567. จาก https://thethinkwise.com/.