พฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ของสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก จำแนกตาม เพศ อำเภอที่อยู่อาศัย สถานภาพ สถานภาพการอยู่ในครอบครัว ระดับการศึกษา โรคประจำตัว และการออกกำลังกาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอองครักษ์ จำนวน 380 คน โดยเทียบตารางกำหนดขนาดของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการคัดเลือกโดยการแบ่งสัดส่วนกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) เพศส่งผลต่อพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) สถานภาพส่งผลต่อพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) สถานภาพการอยู่ในครอบครัวส่งผลต่อพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ระดับการศึกษาส่งผลต่อพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) โรคประจำตัวส่งผลต่อพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 6) การออกกำลังกายส่งผลต่อพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 3. กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). รายงานข้อมูลจังหวัดนครนายก. สืบค้น 12 มีนาคม 2566. จาก https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_ampur?region=4&prov=MjY=&provn=4LiZ4LiE4Lij4LiZ4Liy4Lii4LiB.
กาพย์ประภา สง่าใจ. (2563). กิจกรรมนันทนาการกลวิธีหนึ่งสู่การสูงวัยอย่างมีพลัง. วารสารสังคมภิวัฒน์, 11(2), 1-14.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 3(16), 1-19.
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
ศศธร สุมน. (2562). ความต้องการและองค์ประกอบของโปรแกรมนันทนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิต ของผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. วารสารคณะพลศึกษา, 22(2), 70-81.
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2563). REGENERATING Physical Activity in Thailand after COVID-19 Pandemic: ฟื้นกิจกรรมทางกายในประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19. นนทบุรี: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยในมิติความต่างเชิงพื้นที่ พ.ศ.2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง. กรุงเทพมหานคร: สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
Butler, G. D. (2007). Introduction to community recreation. New York: Mason Press Inc.
Chubb, M. (1981). One third of our time?: An introduction to recreation behavior and resources. New Jersey: Wiley.
Kelly, J. R. (1996). Leisure. Boston: Allyn and Bacon.