ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อการผลิตถุงมือโพลีเอสเตอร์เคลือบโพลียูรีเทนเพื่อทดแทนการนำเข้าของบริษัทผู้ผลิตถุงมือในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กการลงทุนการผลิตที่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์บางกระบวนการเพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิต และจำหน่าย เป็นทางเลือกส่วนใหญ่ที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเลือกแนวทางการลงทุนเพราะทำให้ผู้ประกอบการลดเงินลงทุนเริ่มธุรกิจประเภทค่าใช้จ่ายคงที่ประเภทเครื่องจักร และค่าแรงน้อยลง แต่จากสถานการณ์ Covid-19 ทำให้เห็นถึงประเด็นปัญหาจากผลกระทบของสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ทำให้กระทบทั้งค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นและการขนส่งที่ไม่ได้ตามกำหนดการ เนื่องจากความเสี่ยงภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตถุงมือโพลีเอสเตอร์เคลือบโพลียูรีเทน (With Project) เชิงเปรียบเทียบกับการนำเข้าถุงมือโพลีเอสเตอร์มาเคลือบโพลียูรีเทนในไทย (Without Project) ตลอดอายุโครงการ 10 ปี (พ.ศ. 2565–2574) โดยคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสและอัตราเงินเฟ้อ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร 1 ท่าน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด 1 ท่าน และผู้จัดการฝ่ายผลิต 1 ท่าน โดยใช้รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลแบบลูกโซ่ ด้วยการสัมภาษณ์ ชิงลึก จากแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ที่ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรง ตลอดจนได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
ผลการวิจัยพบว่า การผลิตถุงมือโพลีเอสเตอร์เคลือบโพลียูรีเทน (With Project) มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ดีกว่าโดยเปรียบเทียบกับกรณีการนำเข้าถุงมือโพลีเอสเตอร์มาเคลือบโพลียูรีเทนในไทย (Without Project) กล่าวคือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (ENPV) เท่ากับ 260,473,228 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (EBCR) เท่ากับ 1.48 เท่า และอัตราผลตอบแทนภายใน (EIRR) เท่ากับ 1.82 เท่า มากกว่ากรณี (Without Project) พบว่า ENPV เท่ากับ 157,827,606 บาท EBCR เท่ากับ 0.23 เท่า และ EIRR เท่ากับ 138 เท่า ตามลำดับ โดยทั้งสองกรณีมีความต้านไวของราคาต้นทุนและราคาจำหน่ายดังนี้ ร้อยละ 14 และ ร้อยละ 5 ในขณะที่ ระยะเวลาคืนทุน 11 เดือน 6 วัน และ 25 เดือน 4 วันตามลำดับ
ดังนั้นการผลิตถุงมือโพลีเอสเตอร์เคลือบโพลียูรีเทนเพื่อทดแทนการนำเข้าจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมของการตัดสินใจผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าถุงมือสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความคุ้มค่า เชิงเศรษฐศาสตร์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา เจียมวงษา. (2561). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนพื้นดินในเขตภาคใต้โดยเปรียบเทียบระหว่าง มีราคา Feed-in-Tariff (FITF) กับ ไม่มีราคา Feed-in-Tariff (Non-FITF) (การค้นคว้าอิสระปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
กนกพร ภาคีฉาย. (2565). โครงการยกระดับศักยภาพการผลิตและการตลาดของบริษัท เอส เอ เอ็ม โกลฟ อินดัสทรี จำกัด (TRM, บพค, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ธนวัฒน์ ชูวัน. (2563). การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อการนำระบบไร้กระดาษ (Paperless) มาใช้ในบริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จำกัด (การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2565). อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก บ้าน เงินกู้ สินเชื่อ และค่าธรรมเนียมโอนเงิน. สืบค้น 10 กันยายน 2565. จาก https://www.exim.go.th/th/ exchange_rate/Interest-Rates.aspx.
พัชนี แพทย์อุดม. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนปลูกพริกไทยแบบอินทรีย์เพื่อการค้า ในจังหวัดจันทบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สิทธินันท์ ทองศิริ และศิวัตม์ กมลคุณานนท์. (2562). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างหอพักนักศึกษา ในกำกับมหาวิทยาลัย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 12(1), 88–99.
วรัญญา เชาว์ชาญกิจ. (2565). ความคุ้มค่าทางการเงินและทางเศรษฐกิจของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง (MBE). สืบค้น 20 ตุลาคม 2565. จาก http://econ.nida.ac.th/2018/11/ความคุ้มค่าทางการเงิน.
Nugraha Nugraha, Aviasti Aviasti, Dewi Shofi Mulyati, Reni Amaranti, and Chicha Nursagita. (2019). Economics Feasibility Analysis of Fragrant Lemongrass (Andropogon nardus) Cultivation and Distillation System. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, Volume 409, Proceedings of the 2nd Social and Humaniora Research Symposium (SoRes 2019). Netherlands: Atlantis Press.
Pakeechay, K., Klomklaw, K., & Mankong, C. (2022). An Economic Feasibility of the Commercial Community Products of Sainoi Bang Ban, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of Liberal Art of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi; 4(2), 213-227.