ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และ 2) ตัวแบบสำหรับพยากรณ์สมรรถนะของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักศึกษาครูที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล 4.0 จำนวน 18 คน โดยใช้วิธีการสำมะโน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาครูทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล 4.0 และนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากประชากรมาประมวลผลด้วยโปรแกรมอาร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบทีและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีการถดถอยทีละขั้น ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษาครูมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และสมรรถนะของนักศึกษาครูมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 นอกจากนี้ยังพบว่า เพศที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษาครูไม่แตกต่างกัน
2) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ด้านการได้รับการพัฒนาความรู้ ( ) ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ( ) ด้านมุ่งอนาคตและควบคุมตน ( ) และด้านทัศนคติต่อการประกอบวิชาชีพครู ( ) มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษาครู ( ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีสมการพยากรณ์สมรรถนะของนักศึกษาครู คือ ซึ่งด้านทัศนคติต่อการประกอบวิชาชีพครูสามารถอธิบายความแปรผันของสมรรถนะของนักศึกษาครูได้ร้อยละ 58.00
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชนก โยธาจันทร์. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กลัญญู เพชราภรณ์. (2564). สมรรถนะทางวิชาชีพครูและคุณลักษณะของครูที่ดี. เอกสารประกอบการสอนวิชาคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและจิตวิญญาณความเป็นครู. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ธนิกานต์ สุขวัฒน์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรวิภา สวนมะลิ และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(4), 98-110.
มักตา จะปะกิยา, ชิดชนก เชิงเชาว์ และเกษตรชัย และหีม. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะครูสามัญในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(17), 53-64.
เมษา นวลศรี และกุลชาติ พันธุวรกุล. (2565). สมรรถนะสำคัญของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(3), 50-62.
สาวิตรี ฉายจิตต์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 248-257.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อัธยา เมิดไธสง. (2563). สมรรถนะในการบริหารจัดการชั้นเรียนของนักศึกษาครูสังคมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 14(1), 172-182.