การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน

Main Article Content

วริศรา ปลายชัยภูมิ
ดนิตา ดวงวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยให้มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยให้มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนภูเขียว จำนวน 45 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ท้ายวงจรปฏิบัติการ แบบประเมินสมรรถนะการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีมท้ายวงจรปฏิบัติการ แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินสมรรถนะการทำงานแบบรวมพลังทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 85 และมีจำนวนนักเรียน ที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 82.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม คิดเป็นร้อยละ 85.65 และมีจำนวนนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
ปลายชัยภูมิ ว. ., & ดวงวิไล ด. . (2023). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(3), 577–589. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/270958
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กาญจนา วิชญาปกรณ์ และทรงภพ ขุนมธุรส. (2566). การใช้วิธีสอนแบบโครงการในรายวิชาคติชนวิทยากับการสอนภาษาและวรรณกรรมไทย. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 18(1), น.111-128.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่.นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนดพับลิสชิ่ง.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน การเรียนการสอนแบบบูรณาการกรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิชัย ภูดี. (2566). การพัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของผู้เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาแบบ 6E ร่วมกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านคำพอกท่าดอกแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 6(1), 105–119.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. 2555. ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์ หลักสูตรการสอนและการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564).กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

อัญญาณี มุ่งพิงกลาง และดนิตา ดวงวิไล. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของประโยคระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน. สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 5(1), น.85-95.

Bergmann, J. & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. Eugene, OR: International Society for Technology in Education.

Guilford, J. P. (1950). Creativity. American Psychologist, 5, 444-454.

Harun, D. (2006). PROJECT-BASED LEARNING HANDBOOK “Educating the Millennial Learner”. Educational Technology Division, Ministry of Education. Malaysia.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1992). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press.