การยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานการเกษตรแบบยั่งยืน

Main Article Content

รัศเมศวร์ ตันวีนุกูล
บุญฤทธิ์ นกครุฑ
ชาญณรงค์ หนูอินทร์
สุวิทย์ สมสุภาพรุ่งยศ

บทคัดย่อ

  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถ่ายทอดเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานการเกษตรแบบยั่งยืน 2) สร้างการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานการเกษตรแบบยั่งยืน การวิจัยในครั้งนี้กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงในการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 44 คน และจำนวนผู้ประเมินเทคโนโลยีเพื่อสร้างการยอมรับ จำนวน 65 คน ทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ กลุ่มตัวแทนชุมชนที่อยู่ในชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในชุมชน สถิติที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน


  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานการเกษตรแบบยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปหาน้อยตามด้านการประเมิน จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะของผู้ถ่ายทอด ด้านการนำความรู้ไปใช้ และด้านกระบวนการการถ่ายทอด ตามลำดับ 2) ผลการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลโดยชุมชนสร้างสรรค์บนฐานการเกษตรแบบยั่งยืน จำนวน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นความรู้ (Knowledge) ผลการวิเคราะห์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นจูงใจ (Persuasion) ผลการวิเคราะห์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นตัดสินใจ (Decision) ผลการวิเคราะห์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นทดลองใช้ (Implementation) ผลการวิเคราะห์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นยืนยัน (Confirmation) ผลการวิเคราะห์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ตันวีนุกูล ร., นกครุฑ บ. ., หนูอินทร์ ช. ., & สมสุภาพรุ่งยศ ส. . (2024). การยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานการเกษตรแบบยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(1), 45–58. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/269968
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). โควิด-19 ฉุดนักท่องเที่ยวโลกปี 63 หดตัว 74%. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/.

ครรชิต มาระโภชน์ และทักษินาฏ สมบูรณ์. (2563). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฐรำไพพรรณี, 11(2), 210-223.

จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และคณะ. (2566). บทบาทของแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) ต่อการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก. Rmutt Global Business and Economics Review, 18(1), 39-56.

ธีระ ราชาพล และคณะ. (2564). การศึกษานวัตกรรมการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม: ตลาดหน้าพระธาตุเมืองคอน. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 25(1), 141-149.

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1), 160-167.

ปริวรรต สมนึก. (2561). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนระหว่างชุมชน บ้านทรายมูลและชุมชนบ้านโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 70-112.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี. (2566). ttb analytics คาดรายได้การท่องเที่ยวไทยปี 2566 เพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านบาทจากปีก่อน พุ่งแตะระดับ 2.25 ล้านล้านบาท. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.ttbbank.com/en/analytics/business-industry/tourism-health care/20230112-ttb-analytics-thai-tourism-outlook2023.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2563). การถ่ายทอดเทคโนโลยี. สืบค้น 10 มกราคม 2565. จาก https://www.nectec.or.th/tag/innovation/innovation-service/1.

สาลินันท์ บุญมี และคณะ. (2566). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในชุมชนทับน้ำ-บ้านม้าอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(1), 1-14.

องค์การบริหารส่วนตำบลทับน้ำ. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-พ.ศ. 2565). สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://tubnum.go.th/public/default/index/index.

เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ. (2565). กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://www.gotoknow.org/posts/493971.

Roger, Everett M. (2003). Diffusion of Innovations. 3rd ed. New York: A Division of Macmillan Publishing.