การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบล เรื่องแนวคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

คณิศร จี้กระโทก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบลเรื่องแนวคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านเนื้อหาและมัลติมีเดียของผู้เชี่ยวชาญสำหรับสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนสำหรับสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้ 1) สื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบลเรื่องแนวคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบประเมินความเหมาะสมด้านเนื้อหาและมัลติมีเดีย 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้สื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบลเรื่องแนวคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและมัลติมีเดียสำหรับสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก และ 3) ผลประเมินความพึงพอใจพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
จี้กระโทก ค. . (2023). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบล เรื่องแนวคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(2), 404–418. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/269404
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม, และอภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 23-28.

คณิศร จี้กระโทก. (2564). การพัฒนาและผลิตสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

คณิศร จี้กระโทก, ปณวรรต คงธนกุลบวร, และพิศณุ ชัยจิตวณิชกุล. (2566). เกมเพื่อการศึกษาโดยใช้รูปแบบการสอนแสดงบทบาทสมมุติ เรื่อง ผจญภัยไปกับหนูน้อยในภารกิจสำรวจระบบสุริยะ โดยใช้แพลตฟอร์ม Roblox. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 6 (RUSCON6). 27-28 เมษายน 2566. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา. 596-603.

คณิศร จี้กระโทก, พันธวัฒน์ ถ่องตะคุ, และอนุชิต จำปามูล. (2562). ระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), 101-113.

เบญจมาศ พึ่งน้ำ และอัมพร วัจนะ. (2563). ผลการเรียนด้วยแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองบนสมาร์ทโฟนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตกพรมวิทยาคาร จังหวัดจันทบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 (NMCCON 2020). 23 พฤษภาคม 2563. วิทยาลัยนครราชสีมา. 185-194.

ประภาศรี ช่วยโอ. (2556). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผังมโนทัศน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. (การปฏิบัติการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัฒนา ศิริกุลพิพัฒน์, พงศ์ศิษฎ ไทยสีหราช, อมรมาศ คงธรรม, และพรศรียมก. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพาสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(21), 1-17.

ภาสกร เรืองรอง และมะยุรีย์ พิทยาเสนีย์. (2563). แนวคิดเชิงคำนวณร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(1), 1-16.

สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เทคโนโลยีเคลื่อนที่เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนพื้นฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองในยุควิถีใหม่. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(3), 73–88.

สุรัตนา เหล่าไชย, ปภาวี รัตนธรรม, และอดิศักดิ์ พละสาร. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (ปริญญานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อภิสิทธิ์ เถายะบตุร. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนห้องเรียนกลับด้านโดยใช้โมบายเลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Ausubel, David P. (1963). The Psychology of Meaningful Verbal Learning: An Introduction to School Learning. New York: Grune & Stration.

Azlina, N. N. (2010). CETLs: Supporting collaborative activities among students and teachers through the use of think-pair-share techniques. International Journal of Computer Science Issues (IJCSI), 7(5), 18-29.

Daniel, S. J. (2020). Education and the COVID-19 pandemic. Prospects, 49(1), 91–96.

Doyumgaç, I., Tanhan, A., & Kiymaz, M. S. (2021). Understanding the most important facilitators and barriers for online education during COVID-19 through online photovoice methodology. International Journal of Higher Education, 10(1), 166–190.

Hoofman, J., & Secord, E. (2021). The effect of COVID-19 on education. Pediatric Clinics, 68(5), 1071–1079.

Lockee, B. B. (2021). Online education in the post-COVID era. Nature Electronics, 4(1), 5–6.

Muthuprasad, T., Aiswarya, S., Aditya, K., & Jha, G. K. (2021). Students’ perception and preference for online education in India during COVID-19 pandemic. Social Sciences & Humanities Open, 3(1), 100101.

Sharon, K., & Caroline, M. (2022). A Model for Motivation-Driven Assignment Design. Retrieved August 12, 2022, from https://www.igi-global.com/chapter/a-model-for-motivation-driven-assignment-design/304706.