ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ของครูต่างชาติในโรงเรียนสองภาษา จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนสองภาษาของจังหวัดปทุมธานี 2) ระดับสมรรถนะ
ของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนสองภาษาจังหวัดปทุมธานี และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนสองภาษาของจังหวัดปทุมธานี ประชากร ประกอบด้วยผู้บริหารและครูในโรงเรียนสองภาษา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 422 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรทั้งหมดเข้าสมการ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูชาวต่างประเทศโรงเรียนสองภาษา มีค่าเฉลี่ยภาพรวม 4.32 อยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูชาวต่างประเทศ โรงเรียนสองภาษา มีค่าเฉลี่ยภาพรวม 4.37 อยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูต่างชาติโรงเรียนสองภาษา จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนของผู้บริหารโรงเรียน เจตคติต่อวิชาชีพครู และสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนการสอน ปัจจัยข้างต้นสามารถพยากรณ์สมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูต่างชาติในโรงเรียนสองภาษาได้ร้อยละ 51.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชาญชัย สิทธิโชต. (2560). การพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการจัดการเรียนรู้ ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ซูฮัยลา แจ๊ะฮะ. (2560). ปัจจัยพหุระดับที่สงผลตอทักษะการจัดการเรียนรูของครูในโรงเรียน สังกัดสํานักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พัชรมัย อินอ่อน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของครูในสถานศึกษาโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดปทุมธานี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 303-311.
ภัทราวรรณ ซาสันเทียะ และ สมเกียรติ ทานอก. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอน ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 121-123.
วันวิสาข์ ไชยแสง. (2561). สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1-9.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู; กรุงเทพมหานคร.
สุพัตรา ขันทอง. (2562). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวรรณี กันทะปิง. (2562). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านแม่กอนในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุวรรณี ยหะกร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ของสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(1),86-87.
อมรรัตน์ วัฒนาธร. (2563). การเตรียมครูสำหรับการสอนในโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา: กรณีมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(4), 352-353
อรวรรณ รังสัย และ อภิชาติ เลนะนันท์. (2561). รูปแบบการบริหารโรงเรียนในโครงการจัดการเรียนการสอนสองภาษาของสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, 8(3), 73-75.
Ayesha Parveen, Ijaz Ahmad Tatlah, Qudsia Fatima. (2022). Factors Affecting The Performance Of Rural Secondary School Teachers. Webology. 19(3), 294-307.
Nita Kanya, Aryo Bima Fathoni, Zulmi Ramdani. (2021). Factors affecting teacher performance. Langlangbuana University, Bandung, West-Java, Indonesia, International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE). 10(4), 1462-1468.
Melly Miranda, Almasdi Syahza and Sumarno. (2021). Analysis of Factors Affecting Teacher Performance in State Junior High School Learning in Bengkalis Regency. Journal of Educational Sciences. 5(3), 464-478.
OECD. (2019). OECD Future of Education and Skills 2030: OECD Learning Compass 2030. Retrieved March 12, 2023. from https://www.oecd.org/education/2030-project.
Sugito MPd, Anak Agung Gede Agung, Made Yudana. (2021). The influence of Servant Leadership and motivation on Teacher Performance in West Denpasar. Retrieved March 12, 2023. from https://dl.acm.org.
UNESCO. (2016). Incheon Declaration and Framework for Action for the implementation of Sustainable Development Goal 4. Retrieved March 12, 2023. From https://unes doc.unesco.org.