รูปแบบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา และประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านการบริหารการศึกษา ด้านการแนะแนว และด้านอาชีวศึกษา จำนวน 11 คน และ 2) การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูแนะแนวสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 2 จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย บว่า 1) รูปแบบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการแนะแนว 2) กระบวนการจัดการเรียนการสอนแนะแนวเพื่อศึกษาต่อสายอาชีพด้วย Design thinking process และ 3) คุณภาพครูแนะแนว และ 2) การประเมินรูปแบบ พบว่า ความรู้ความเข้าใจของครูหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูแนะแนว เพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2564). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).
ธันว์รัชต์ สินธนะกุล. (2557). การพัฒนาระบบสนับสนุนการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยอาศัยแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเหมืองข้อมูลร่วมกับพหุปัญญาของนักเรียน (ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปกป้อง จันวิทย์ และ ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2564). ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาไทย. สืบค้น 2 กันยายน 2564. จาก http://pokpong.org/writing/vocational-education/.
ปิยวรรณ ปรีชานุกูล. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอาชีพเพื่อพัฒนาการรับรู้ด้านการศึกษาต่อสายอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกตูมวิทยา จังหวัดลพบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1): 308-320.
เป็นไท เทวินทร์. (2557). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 272-283.
พรชัย รอดเจริญ. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อการแนะแนวนักเรียนสำหรับหลักสูตรพาณิชยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พีระวัตร จันทกูล. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เมธีศิน สมอุ่นจารย์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสันต์ ปานทอง. (2556). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุชาดา โล้กูลประกิจ. (2556). ระบบสารสนเทศแนะแนวการศึกษาต่อ: กรณีศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
อปท.นิวส์. (2562). อาชีวศึกษาไทยสร้างชาติได้ ถ้ารัฐบาล ‘จริงใจ จริงจัง’. สืบค้น 23 มีนาคม 2562. จาก https://tdri.or.th/2019/02/vocational-education-4/.
Gibbons, S. (2016). Design Thinking 101. Retrieved March 23, 2016 from https://www.nngroup.com/articles/design-thinking.
Willer, D. (1986). Scientific Sociology Theory and Method. New Jersey: Prentice-Hill.