การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน ของธุรกิจสายการบิน

Main Article Content

อภิษฎา กาญจนารมย์

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินเป็นวงกว้าง หลายสายการบินจำเป็นที่จะต้องลดค่าใช้จ่าย บางสายการบินจำเป็นที่จะต้องยื่นล้มละลายเนื่องจากไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อ ทำให้บุคลากรในอุตสาหกรรมการบินบางส่วน หรือแม้กระทั้งภาคเศรษฐกิจได้รับผลกระทบตาม อย่างไรก็ตามสายการบินบางส่วนยังคงสามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเช่นกัน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานของสายการบินที่ได้ขอยื่นล้มละลายในปี พ.ศ. 2563 (สายการบินสัญชาติโคลัมเบีย) และสายการบินที่ยังคงดำเนินกิจการต่อได้ในปี พ.ศ. 2563 (สายการบินสัญชาติญี่ปุ่น) และ 2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินเพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของสายการบินได้ขอยื่นล้มละลาย  ในปี พ.ศ. 2563 (สายการบินสัญชาติโคลัมเบีย) และสายการบินที่ยังคงดำเนินกิจการต่อได้ในปี พ.ศ. 2563 (สายการบินสัญชาติญี่ปุ่น) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลทางตัวเลขจากงบการเงินในปี พ.ศ. 2558-2562 มาวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน


ผลการศึกษาพบว่า 1) สายการบินสัญชาติญี่ปุ่นมีสภาพคล่องสูงมากกว่า 2) สายการบินสัญชาติญี่ปุ่นมีความสามารถในการชำระหนี้มากกว่า 3) สายการบินสัญชาติญี่ปุ่นมีความสามารถในการทำกำไรมากกว่า 4) ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สายการบินสัญชาติญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากกว่า ยกเว้นประสิทธิภาพในการเก็บหนี้จากลูกหนี้ และ 5) สายการบินสัญชาติโคลัมเบียมีความสามารถในการบรรทุกผู้โดยสารมากกว่า

Article Details

How to Cite
กาญจนารมย์ อ. . (2023). การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน ของธุรกิจสายการบิน. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5(2), 361–375. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/266916
บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). เทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินบริษัทจดทะเบียน. สืบค้น 24 ธันวาคม 2563. จาก https://www01.bualuang.co.th/le/help/kw/ebook004.pdf.

ทักษิณา แสนเย็น, วรวุฒิ เว้นบาป, วีระพันธ์ ช่วยประสิทธิ์, กุลธวัช ศรายุทธ, และ อาภาภรณ์ หาโส๊. (2563). บทวิเคราะห์การรับมือโรคโควิด-19: ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 209-220.

ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ. (2558). การบริหารเงินทุนหมุนเวียน. วารสารสารสนเทศ, 14(2), 7-19.

พจน เจิมสวัสดิ์. 2563. ความสำคัญของรายได้เสริมนอกเหนือจากบัตรโดยสาร (Ancillary Revenue) ต่อรายได้ขอสายการบิน. สืบค้น 28 สิงหาคม 2563. จาก https://www.wingtips.info/ academic-001/.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย. (2546). การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis). สืบค้น 19 มกราคม 2564. จาก https://www.cvc.ac.th/cvc2011/external _links.php?links=2089.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย. (2546). งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows). สืบค้น 10 มกราคม 2564. จาก https://www.cvc.ac.th/cvc2011/external_links.php?links =2089.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย. (2546). แนวคิดการรายงานทางการเงินและการนำเสนองบการเงิน. สืบค้น 08 มกราคม 2564. จาก https://www.cvc.ac.th/cvc2011/external_links.php ?links=2089.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์ และ ทักษธิป ขุนทองจันทร์. (2564). ตัวแปรที่ส่งผลต่ออัตราส่วนการขนส่งของสายการบินต้นทุนต่ำไทยแอร์เอเชีย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 141-154.

อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์. (2554). การวิเคราะห์งบการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Cheng, L.. (2013) Report on Financial Analysis of Easy Jet and Ryan Air Financial Comparison. (2013). Retrieved December 25, 2022. from https://www.aca demia.edu/23846034/Report_on_Financial_Analysis_of_Easy_Jet_and_Ryan_Air_Financial_Comparison_Module_Financial_Analysis.

Henry, E., Robinson, T.R., & van Greuning, J. H.. (2021). Financial Analysis Techniques. Retrieved December 30, 2022. from https://www.coursehero.com/file/47832 020/MODULE-6pdf/.

Camilleri, M. A. (2018). Aircraft Operating Costs and Profitability. In Travel Marketing, Tourism Economics and the Airline Product (Chapter 12, pp. 191-204). Cham, Switzerland: Springer Nature.

Michael, G.. (2018). Meet The Most Crowded Airlines: Load Factor Hits All-Time High. Retrieved December 30, 2022. From https://www.forbes.com/sites/Michael Goldstein/2018/07/09/meet-the-most-crowded-airlines-load-factor-hits-all-time-high/?sh=5461c57a54fb.

Mukhtar, H. M.. (2015). Financial Statement Analysis in The Airline Industry: A Comparative Study of Turkish Airlines and Royal Dutch Airlines (ROYAL DUTCH AIRLINES). (thesis). Türkiye, Konya: Selçuk Üniversitesi.

Niklas, H.. (2019). Comparative Performance Analysis of Airline Companies: Evidence from EasyJet and Norwegian During 2014-2018 (Bachelor’s thesis). Estonia, Tallinn: Tallinn University of Technology.

Oum, T. H., Zhang, A., & Fu, X.. (2010). Air Transport Liberalization and Its Impacts on Airline Competition and Air Passenger Traffic. Transportation Journal, 49(4), 371-390.

Rishika, M.. (2021). Reasons why Airline industries are always struggling. Retrieved January 18, 2021. From https://insider.finology.in/business/reasons-why-airlines-indust ry-always-struggling.

Samuel, R. & James, M. (1973). Airline Size, Profitability, Mergers and Regulations. J.AIR L. & COM. 39(2), 167-213.