การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานภูมิปัญญาช่างศิลป์จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วงศ์ระวิทย์ น้อมนำทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาช่างศิลป์จังหวัดนครปฐม 2) นำเสนอต้นแบบชุมชนช่างศิลป์ด้วยผลิตภัณฑ์ ศิลปะการแสดง แบรนด์เส้นทาง และรูปแบบการตลาดออนไลน์ในจังหวัดนครปฐมและ 3) พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาช่างศิลป์จังหวัดนครปฐม การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชาวบ้านผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างข้อสรุป และนำเสนอในรูปแบบพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนมีกระบวนการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาช่างศิลป์จังหวัดนครปฐม 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวของพื้นที่ 2) วิเคราะห์ความต้องการของชุมชนกับนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยว 3) การจัดตั้งกลุ่มท่องเที่ยว 4) กำหนดแผนในการพัฒนากลุ่มท่องเที่ยว และ 5) การประเมินผลกิจกรรมท่องเที่ยวนำร่อง 2) นักท่องเที่ยวกลุ่มนำร่อง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวนำร่อง เส้นทางท่องเที่ยวสุขศิลป์@นครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ด้านการต้อนรับและกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ และด้านแหล่งท่องเที่ยว อาหาร เครื่องดื่มและของที่ระลึก อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก และ 3) พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาช่างศิลป์จังหวัดนครปฐม ภายใต้ชื่อ “เส้นทางท่องเที่ยวสุขศิลป์@นครปฐม”

Article Details

How to Cite
น้อมนำทรัพย์ ว. . (2022). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานภูมิปัญญาช่างศิลป์จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3), 443–456. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/264836
บท
บทความวิจัย

References

กานต์มณี ไวยครุฑ. (2564). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรวัฒนธรรมไทย-มอญ ชุมชนบ้านงิ้ว จังหวัดปทุมธานี (Potential Development of Community Based on Thai-Mon Cultural Resources, Ban Ngio Community, Pathum Thani Province). วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 13(2). 135-146.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนมกราคม-ธันวาคม 2564. สืบค้น 1 มีนาคม 2565 จาก https://www. mots.go.th/news/category/630.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). แนวทางฟื้นฟู “การท่องเที่ยว” หลังวิกฤติโควิค-19. สืบค้น 20 มกราคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/885171.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2559). การวางแผนการจัดนำเที่ยว. นนทบุรี: เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2564). ความปกติสุขในความปกติใหม่ การท่องเที่ยวไทยในสถานการณ์ฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: สุพีเรีย พริ้นติ้งเฮาท์.

เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น 2561-2565. สืบค้น 30 ตุลาคม 2564. จาก https://pmd.go.th/public/list/data/detail/id/2596/menu/1196/.

เทศบาลเมืองไร่ขิง. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564 เทศบาลเมืองไร่ขิง. สืบค้น 4 มีนาคม 2565. จาก https://www.raikhing.go.th/uploads/.

นรินทร์ สังข์รักษา และคณะ. (2561). รูปแบบความหลากหลายของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีชุมชนริมแม่น้ำแม่กลองอย่างสร้างสรรค์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มศักยภาพสูงของจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(2). 1756-1774.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2556). การท่องเที่ยวชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. (2561). นครปฐม เมืองท่าแห่งสหพันธรัฐทวารวดี. สืบค้น 20 มกราคม 2565 จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=5352/%20(In%20Thai).

ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เลิศพร ภาระสกุล. (2559). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). รายงานประจำปี 2558-2559 (Annual Report 2015-2016). พระนครศรีอยุธยา: ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน).

สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). ศาสนาศิลป์. สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2565. จาก https://thai artisan.org/artisan-buddhist/.

สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม และคณะ. (2562). โครงการการสำรวจและสังเคราะห์ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวในการพัฒนาเมืองสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

อัศวิน แสงพิกุล. (2562). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทุมพร เรืองฤทธิ์ และผกามาศ ชัยรัตน์. (2565). รูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนรากฐานภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ไทดำบ้านดอนมะนาว จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1). 113-127.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2560). Creative Tourism การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2560. กรุงเทพมหานคร: โคคูน แอนด์ โค.

_____. (2561). คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระชับ. (2564). ข้อมูลสภาพทั่วไป. สืบค้น 30 ตุลาคม 2564. จาก https://thakrachub.go.th/public/list/data/index/menu/1144.

องค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด. (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2559-2563). สืบค้น 30 ตุลาคม 2564. จาก https://www.watlamud.go.th/files/com_strategy/.

Richards, G. & Raymond, C. (2000). Creative Tourism. ATLAS News, 23, 16-20.