ความเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565

Main Article Content

พิชญาภา โสรัตน์
นพดล อำนวยพรเลิศ
กนกวรรธน์ เซี่ยงเจ็น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 453 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบง่ายโดยใช้สูตร Taro Yamane ที่ค่าความเชื่อมั่น 97% เครื่องมือ คือ แบบสอบถามประเมิน 5 ด้าน รวม 23 ปัจจัยมีค่า IOC= .95
เก็บข้อมูลโดยให้คณะ/วิทยาลัยแจกและเก็บแบบสอบถาม ใช้สถิติบรรยาย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565 พิจารณาจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตของด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจจากมากไปน้อย คือสถาบัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.91) รองลงมา คือ การประชาสัมพันธ์ ( = 3.88) หลักสูตรและการจัดการศึกษา ( = 3.85) การบริการ ( = 3.78) และน้อยที่สุด คือ สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวก ( = 3.53) ตามลำดับโดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 25657 อันดับแรก คือ สภาพแวดล้อมร่มรื่น อากาศดี
และสวยงาม ( = 4.42) การให้โอกาสแก่นักเรียนที่ต้องการศึกษาแล้วได้ศึกษา ( = 4.22) อาจารย์มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมีความเป็นเลิศทางวิชาการ การวิจัย ( = 4.16) ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์การเรียนการสอนมีความทันสมัย ( = 4.01) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน ( = 3.79) มีชื่อเสียง ได้รับการจัดอันดับ (Rankings) และเป็นที่ยอมรับจากสังคม ( = 3.67) และที่ตั้งอยู่ใกล้หรืออยู่ในภูมิภาคเดียวกับโรงเรียน ( = 3.08) ตามลำดับ ซึ่งบทสรุปงานวิจัยนี้จะทำให้งานรับเข้าศึกษา ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565 และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ให้ทันสมัยเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
โสรัตน์ พ. ., อำนวยพรเลิศ น. ., & เซี่ยงเจ็น ก. . (2022). ความเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(3), 499–511. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/262360
บท
บทความวิจัย

References

ใจชนก ภาคอัต. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์.

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2563). ความต้องการทางการศึกษา โอกาสและทางเลือก. วารสารการศึกษาแห่งชาติ. 16(2), 11-12

ชลัยรัตน์ จิรชัยเชาวนนท์. (2562). การศึกษาทัศนคติและสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ใน รายงานการวิจัย. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

นฤนาฎ สุวรรณ. (2559). ปัจจัยที่มีต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นจังหวัดเชียงใหม่ (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ใน รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2560). ระเบียบวิธีวิจัย. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วลัยพร ขันตะคุ, จรัญญา สมอุดร, และนวรัตร์วดี ชินอัครวัฒน์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีปีการศึกษา 2563. ใน รายงานการวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

สมคิด บางโม. (2560). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เพ็งเที่ยง. (2564). ปัจจัยที่ผลต่อการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์วิกฤติ COVID-19. ใน รายงานการวิจัย. ปทุมธานี: โรงเรียนหอวัง

อุทุมพร ไวฉลาด.(2561). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

Azoury,Daouand Khoury. (2018). Models of teaching. (12th ed.). Boston: Pearson.

Cubillo, J. M. Sanchez. J. and Cervino. J. (2006). International Student’s DecisionMaking Process. International Journal of Educational Management, 20(2), 101-115.

Maslow, A. H. (1954). Introduction to the Foundations of Education. New Jersey: Prentice Hall.

Plunkett and Attner. (2019). The human sild of enterprise. New York: McGrew-Hill.