ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับอุดมศึกษา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ จำนวน 2,816 คน โดยสุ่มแบบโควตา (Quota Sampling) และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม 4 ด้าน รวม 18 ปัจจัย (ค่า IOC = .95) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัย พบว่า การตัดสินใจเลือกศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตในด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจจากมากไปน้อย คือ หลักสูตรและการจัดการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 53.1 สถาบัน คิดเป็นร้อยละ 31.8 สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวก คิดเป็นร้อยละ 30.9 และกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 50.5 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 อันดับแรก คือ มหาวิทยาลัยมีระบบและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 40.7 มหาวิทยาลัยมีโครงการ (โควตา) รับเข้าที่เอื้อต่อการเข้าศึกษาของนักเรียน คิดเป็นร้อยละ38.6 มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรหลากหลาย น่าสนใจทันสมัยเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน คิดเป็นร้อยละ35.9 และมีค่าธรรมเนียมการศึกษา (ค่าเทอม) อย่างเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ34.1 ตามลำดับ ซึ่งบทสรุปงานวิจัยนี้จะทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อดึงดูดความสนใจ
ของนักเรียนในการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยพะเยามากยิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฉัตราพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
ณัฐธยาน์ สมยูรทรัพย์. (2552). พฤติกรรมการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิทยา.
ธนกฤต ยืนยงเดชา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. ในรายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
รจเรข สายคํา และคณะ. (2560). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ในรายงานการวิจัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2551). การคิดกับการพัฒนาตน. สืบค้น 18 มกราคม 2563. จาก http://www.supatta.haysamy.com/question.html.
ศศิวิมล แสนเมือง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของนักเรียนที่มีผลการเรียนดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในรายงานวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.
Azoury, Daou and Khoury. (2014). Models of teaching (8th ed.). Boston: Pearson.
Solomon. (2015). Consumer behavior (3nd ed). Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.