ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจองห้องพักออนไลน์ ของนักท่องเที่ยวในโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจองห้องพักออนไลน์ของนักท่องเที่ยวในโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (convenience sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาและสามารถนำมาวิเคราะห์ จำนวน 440 ตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วยความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) สัมประสิทธิ์เครเมอร์วี (Cramer’s V) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระด้วยการวิเคราะห์ และการถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary Logistic Regression)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการจองห้องพักออนไลน์มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจองห้องพักออนไลน์มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการให้บริการแบบเจาะจง และปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤติเดช ไกรรัตนสม. (2561). ปัจจัยการนาการจองโรงแรมออนไลน์มาใช้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กนกวรรณ์ โสภักดี และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). ปัจจัยความคาดหวังที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกจองห้องพักใน ระบบอิเล็กทรอนิกส์บนเว็บไซด์. Veridian E-Journal, 9(2), 355-374.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. สืบค้น 10 กันยายน 2564. จาก https://thai.tourismthailand.org/Articles/9tat.
ณภัทร ธานีรัตน์ และคณะ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมในจังหวัดพิษณุโลก. การวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564, โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564, วันที่ 1 เมษายน 2564 (382-395). คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล. (2557). OTAs: Online Travel Agency คืออะไร สำคัญกับการตลาดยุคดิจิทัลอย่างไร. สืบค้น 10 กันยายน 2564. จาก http://www.digithun.com/ota-online-travelagency/.
ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ท้อป.
พรกมล ลิ้มโรจน์นุกูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการจองห้องพักผ่านตัวกลางออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิวัฒน์ โรจนพิทยากร. (2564). โรคติดเชื้อโคโรนา 2019: บทเรียนจาก “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์”. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(3), 389-390.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็ดทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: Thailand Internet User Behavior 2020.
สิริภัทร์ โชติช่วง และผสุดี กลางรัก. (2564). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแรมบริเวณอ่าวนาง จังหวัดกระบี่. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 13(2), 76-95.
เสรี วงษ์มณฑา. (2550). กลยุทธ์การตลาดวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.
Krungthai Compass. (2563). ประเมินเราเที่ยวด้วยกันกระตุ้นท่องเที่ยวไทยได้ 3.6-6.2 หมื่นล้านบาท. Research Note, Jul 20, 2020.
Cochran, W. G. (1963). Sampling techniques. (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons, Inc.
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New Jersey: Prentice –Hall.