ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแนะแนวศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของครูแนะแนว ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการแนะแนวศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประเมิน 5 ด้าน รวม 24 ปัจจัย
ผลการวิจัยพบว่า การตัดสินใจแนะแนวศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตของด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจจากมากไปน้อย คือ การบริการวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 57.3 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 52.0 การเงิน คิดเป็นร้อยละ 45.8 สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวก คิดเป็นร้อยละ 45.3 และสถาบัน คิดเป็นร้อยละ 42.0 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการแนะแนวศึกษาต่อ 5 อันดับแรก คือ มหาวิทยาลัยมีช่องทางการติดต่อสำหรับครูแนะแนวหลากหลายช่องทาง คิดเป็นร้อยละ 62.0 มหาวิทยาลัยมีโควตาพิเศษสำหรับครูแนะแนว คิดเป็นร้อยละ 60.8 เจ้าหน้าที่ ของมหาวิทยาลัยให้ข้อมูลข่าวสารการรับสมัครรวดเร็วฉับไว คิดเป็นร้อยละ 59.8 ผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ลงพื้นที่ให้ความรู้ สร้างความเชื่อมั่นให้ครูแนะแนว คิดเป็นร้อยละ 56.3 และการจัดให้มีการเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 49.6 ตามลำดับ โดยบทสรุปงานวิจัยนี้จะทำให้งานรับเข้าศึกษา ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจแนะแนวศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ให้ทันสมัย สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นในอนาคต
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา วัฒายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธนพรการพิมพ์.
ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของ
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1(1), 2-3.
จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2554). การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เอ็ดยูเคชั่น.
ธนวรรณ รักอู่. (2557). การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ
ปีการศึกษา 2556. ใน รายงานการวิจัย. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
ปฐมา อาแว และนิยาวาเฮร์ ไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี. ใน รายงานการวิจัย. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.
อโณทัย กมุทชาติ. (2562). สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.
อัปสร บุบผา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ใน รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Cubillo, J. M. Sanchez. J. and Cervino. J. (2006). International Student’s DecisionMaking Process.
International Journal of Educational Management, 20(2), 101-115.
Maslow. (1954). Introduction to the Foundations of Education. New Jersey: Prentice Hall.