ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของ GEN Z ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของ GEN Z ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ คนรุ่นใหม่ GEN Z ที่มีอายุอยู่ในช่วง 10-24 ปี (พ.ศ.2540-2554) จำนวน 440 คน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามรูปแบบออนไลน์โดยส่งแบบสอบถามผ่าน google form ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ร่วมกันอธิบายการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของ GEN Z ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ร้อยละ 65.5 ซึ่งพิจารณาจากค่า Adjusted R2 เท่ากับ 0.652 ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออนไลน์ของผู้บริโภคในกลุ่ม GEN Z
Downloads
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ. (2559). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ชนิดา รุ่งณรงค์รักษ์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่สำคัญต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนยี่ห้อการซื้อ (Switching Brand) ของคอนแทคเลนส์สีประเภทนำเข้าจากประเทศเกาหลีของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทวีรัชต์ คงรชต. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(16), 40-60.
ธิคณา ศรีบุญนาค และอุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลี ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(3), 88-100.
ประกายรัตน์ สุวรรณ, และอมรวิทย์ วิเศษสงวน. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSSเวอร์ชัน 20. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บริษัท วีพริ้นท์ (1991) จำกัด.
เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม
พระราชบัญญัติเครื่องสำอางพุทธศักราช 2558. (2558, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 86. หน้า 5-25.
พิมพจีส์ ณ เชียงใหม่ และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ทางออนไลน์ของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 129-142.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย Research Methodology. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.
วารุณี ศรีสรรณ์, วรรณรพี บานชื่นวิจิตร และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑลและต่างจังหวัด. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(67), 41-46.
วริศรา สู้สกุลสิงห์ และวราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 99-118.
สหพัชร์ ชนะชัยสิทธิ์, อิสยาภรณ์ กิตติอังกูรพร และพัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. รายงานสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 729-738.
สาวิตรี รินวงษ์. (2564). เทรนด์ “บิวตี้-เฮลตี้” แรงดันเครื่องสำอางไทยโตสวนโควิด. สืบค้น 20 สิงหาคม 2564. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/946592.
สิทธิชัย บุษหมั่น, และคณะ. (2562). การศึกษาความพึงพอใจต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางบนสื่อออนไลน์. Journal of Project in Computer Science and Information Techno logy, 5(1), 104-112.
สุชาดี ชนะพิมพ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ ของผู้บริโภคเพศหญิงเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรียทิพย์ ประยูรพัฒน์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 161-171.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหวเกือบครึ่งวัน โควิด-19 มีส่วน. สืบค้น 20 สิงหาคม 2564. จาก https://www.etda.or. th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx
Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action. Ohio: South Western.
Churchill, Jr., Gilbert, A. & Paul, J.P. (1998). Marketing: Creating Valuefor Customers. (2nd ed). Boston: The McGraw-Hill.
DOH Dashboard กรมอนามัย. (2564). ข้อมูลจาก HDC ข้อมูล ณ วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้น 19 สิงหาคม 2564. จาก http://203.157.71.115/hdc/dashboard/populationpyramid /changwat?year=2021&cw=14.
Kotler, P. & Amstrong, G. (2000). Principle of Marketing. (9th ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Kotler, P. (2012). Marketing Management. 13th ed. New Jersey: Practice Hall.
Lamb, C. W., Hair, J., F., & McDaniel, C. (2000). Marketing. (5th ed). USA: South-Western College Publishing, Co.Ltd.
Marketeer. (2564). Internet User ในประเทศไทย 2564 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับโลก. สืบค้น 20 สิงหาคม 2564. จาก https://marketeeronline.co/archives /208372.
Nattapon Muangtum. (2563). Insight ทุก Generation 2021 ตั้งแต่ Baby Boomer, Gen X, Gen Y, Gen Z ถึง Alpha. สืบค้น 20 สิงหาคม 2564. จาก https://www.everydaymarketing .co/trend-insight/insight-all-generation-2021-baby-boomer-gen-x-gen-y-gen-z-alpha-from-tcdc-report/.
PPTV Online. (2564). เปิดสถิติใช้อินเทอร์เน็ตคนไทย ปี 2020 “ช้อปเก่ง โอนเก่ง”. สืบค้น 20 สิงหาคม 2564. จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8% B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/142614.