การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการพัฒนาสมรรถนะข้ามพิสัย: กรณีศึกษาประเทศฟินแลนด์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถนะข้ามพิสัยและทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะด้านการสื่อสารและร่วมมือกับผู้อื่น ทักษะด้านการคิดแบบยืดหยุ่นและคิดสร้างสรรค์ และทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเป็นการนำเอาปรากฏการณ์จริงมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ผู้เรียนศึกษาปรากฏการณ์แบบองค์รวมตามสภาพจริงในลักษณะของการบูรณาการข้ามวิชา เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และอยู่ในสถานะผู้สร้างความรู้ ในขณะที่ผู้สอนทำหน้าที่ผู้อำนวยการเรียนรู้ การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานได้รับความสนใจอย่างมากหลังจากถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ของฟินแลนด์ การที่ฟินแลนด์ตัดสินใจเลือกใช้การจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้มีปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของแนวคิดด้านศึกษาที่คำนึงถึงการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบร่วมมือ พหุปัญญาของผู้เรียน และการประเมินผลทางเลือกใหม่ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ทางการศึกษาของฟินแลนด์ในการให้ความสำคัญกับระบบการศึกษาแบบกระจายอำนาจ
Article Details
References
กิร์สติ โลนกา. (2563). Phenomenal learning: นวัตกรรมการเรียนรู้แห่งอนาคตแบบฟินแลนด์. แปล จาก Phenomenal learning from Finland. แปลโดย สุนันทา วรรณสิทธิ์ เบล และ พยุงศักดิ์ แก่นจันทร์. กรุงเทพฯ : บุ๊คสเคป
ตะวัน ไชยวรรณ, และกุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน : การเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 251—263.
ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก. (2559). Finnish Lessons 2.0: ปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์. แปลจาก Finnish Lessons 2.0: What Can the World Learn from Educational Change in Finland?. แปลโดย วิชยา ปิดชามุก. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.
พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท, 46(3), 40-45.
พงศธร มหาวิจิตร. (2561). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 73-90.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). เปลี่ยนมุมมองการบริหารองค์กรการศึกษาในโลก Disruptive. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 8, 248–256.
ภูวดล วิริยะ. (2561). การนำเสนอกิจกรรมการเรียนการสอนเหตุการณ์โลกในยุคปัจจุบันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์, วิชยา กรพิพัฒน์, วนิดา ชูเกียรติวัฒนากุล, และภัทรปภา ทองแท่งใหญ่. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงด้วยการสอนแบบปรากฎการณ์เป็นฐาน รูปแบบการเรียนรู้จากประเทศฟินแลนด์. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 13(1), 61-81.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 46(2), 348-365.
Daehler, K., & Folsom, J. (2016). Making Sense of SCIENCE: Phenomena-Based Learning. Retrieved from: http://www.WestEd.org/mss
Fields, D. (2019, March). Applying Phenomenon-Based Learning to Day-to-day Lessons. Paper presented at the 2019 Oxford National Conference, Italy. Retrieved from https://elt.oup.com/feature/it/ONC19/?cc=de&selLanguage=de&mode=hub
Lonka, K. (2015). Innovative Schools: Teaching & Learning in the Digital Era. European Parliament. European Union. Retrieved from https://www.europarl.europa.eu/RegData/etudes/STUD/2015/563389/IPOL_STU(2015)563389_EN.pdf
Oxford Economics. (2012). Global talent 2021: How the new geography of talent will transform human resource strategies. Retrieved from https://www.oxfordeconomics.com/Media/Default/Thought%20Leadership/global-talent-2021.pdf
Sahlberg P. (2015). Finland’s school reforms won’t scrap subjects altogether. Retrieved from https://theconversation.com/finlands-school-reformswont-scrap-subjects-altogether-39328
Schwab, K. (2016). The Fourth Industrial Revolution: what it means, how to respond. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2016/01/the-fourth-industrial-revolution-what-it-means-and-how-to-respond/
Silander, P. (2015). Phenomenon based learning. Retrieved from http://www.phenomenaleducation.info/phenomenon-based-learning.html
Symeonidis, V., & Schwarz, J. F. (2016). Phenomenon-Based Teaching and Learning through the Pedagogical Lenses of Phenomenology: The Recent Curriculum Reform in Finland. Forum Oświatowe, 28(2), 31–47.
Tissington, S. (2019). Learning with and through phenomena: An explainer on phenomenon-based learning. Paper presented at the Association of Learning Developers in Higher Education Northern Symposium, Middlesbrough UK.
Zhukov, T. (2015). Phenomenon-based Learning: What is PBL?. Retrieved from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-learning-what-is-pbl