การพัฒนาประสิทธิภาพการสรรหาพนักงาน บริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสรรหาพนักงานบริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด 2) ศึกษาปัญหาการสรรหาบุคลากรของบริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการสรรหาพนักงานบริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหาร และพนักงานที่ทำหน้าที่สรรหาบุคลากร บริษัท บิซิเนส เซอร์วิสเซส อัลไลแอนซ์ จำกัด ประกอบด้วย ผู้บริหารและพนักงาน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการสรรหาบุคลากร จำนวน 19 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสรรหาพนักงาน ประกอบด้วย ขั้นตอนการกำหนดตำแหน่งงานที่เปิดรับตามข้อกำหนดของผู้ว่าจ้างและตามตัวชี้วัด การวิเคราะห์งานให้ตรงกับตำแหน่งที่เปิดรับ การกำหนดวิธีการสรรหาโดยการลงพื้นที่และกำหนดผู้รับผิดชอบ การดำเนินการสรรหาโดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ การตรวจสอบประวัติผู้สมัคร และการประเมินผล 2) ปัญหาของการสรรหาบุคลากร ด้านที่มีระดับความสำคัญสูงที่สุดคือ การขาดการชี้แจงนโยบายที่ชัดเจน รองลงมาเป็น ขั้นตอนการทำงานด้านเอกสารที่ซับซ้อน และการขาดแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการสรรหาพนักงาน ด้านที่มีระดับความสำคัญสูงที่สุดคือ การกำหนดนโยบายและแผนงานที่ชัดเจนเพื่อจัดสรรอัตรากำลังตามกรอบภาระงาน รองลงมาเป็นการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในทุกกระบวนการเพื่อลดงานเอกสารและแบบทดสอบ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการสรรหาอบรมพนักงาน
Downloads
Article Details
References
สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการสรรหาบุคลากรของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลางในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3(10), 131-133.
สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2558). การดำเนินการสรรหาเชิงรุก. สืบค้น 8 เมษายน 2564. จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment /article/ocsc-2558- proactive-recruitment-strategy.pdf.
สุชานุช พันธนียะและพฤฒ ยวนแหล. (2564). นวัตกรรมการสรรหาคนที่ “ใช่”: กระแสโลกและความท้าทายของราชการไทย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 9(1), 22-34.
ภาณุวัฒน์ กลับศรีอ่อน. (2558). ปัจจัยความสำเร็จของการสรรหาบุคลากรผ่านระบบออนไลน์. วารสารนักบริหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 35(1), 114-125.
Klingner, D. & Nalbandian, J. (1993). Public Personnel Management: Contexts and Strategies. Eagerwood Cliffs. N.J.: Prentice-Hall.
Krusche, A. el al. (2014). An Evaluation of the Effectiveness of Recruitment Methods: The Staying Well after Depression Randomized Controlled Trial. Retrieved 8 April 2021. from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4110646/.
Loudon, D. L., & Bitta, D. A. J. (1988). Consummer Behavior: Concept and Applications. (3rd ed). New York: McGraw-Hill.
Mathis, J.H. & Jackson, J.H. (2008). Human Resource Management. (5th ed). Cincinati, OH : South-Western College Pub.
Nedaee, T, Alavi, K. & Ramezani, Z.N. (2012). Employees’ Effectiveness World. Applied Sciences Journal. 18(10), 1400-1411. Retrieved 10 April 2021. from www. shorturl.at /kCLP1.
Priyaadharshini, R.G. (2018). Enhancing recruitment effectiveness in IT industry. IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, Volume 390. Retrieved 2021, April 10. from https://www.amrita.edu/publication/enhancing-recruitme nt-effectiveness-it-industry.
Stull, S. & Freer, K. (2019). Perceptions of Performance Improvement Factors in an Emerging Market Environment. Performance Improvement Quarterly. 327-354. Retrieved 2021, April 10. from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/ piq.21269.
Suntana, N. (2017). Analyzing the Effectiveness of Online Recruitment: A Case Study on Recruiters of Bangladesh. Retrieved 2021, April 10. from http://journals.abc.us .org/index.php/abr/article/view/1010.