แนวทางการวิเคราะห์ความอยู่รอดของวงดนตรีในช่วงสถานการณ์โควิด 19

Main Article Content

ไกรวิทย์ สุขวิน

บทคัดย่อ

          สถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของไทย ประชาชนผู้ที่เคยมีอาชีพเพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังเดิม บ้างต้องขายอุปกรณ์ทำกิน บ้างก็เปลี่ยนอาชีพ เช่นเดียวกับวงการดนตรี เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น ซึ่งเป็นมาถึงในระลอกที่ 3 แล้วนั้น ต่างก็ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างเดิม จึงต้องพึ่งช่องทางออนไลน์ในการหารายได้แต่ก็ไม่ได้เป็นไปด้วยความสะดวกมากนัก เหตุเพราะยังเป็นสิ่งใหม่ และไม่เป็นที่คุ้นชินของนักดนตรีในวงดนตรีนั้น ๆ เอง ด้วยปัญหาที่ทับถมจึงทำให้วงดนตรีแต่ละวงต้องหาแนวทางในการแก้ไขเพื่อวางแผนทั้งในสถานการณ์นี้และในภายภาคหน้า


          บทความนี้มุ่งอธิบายและให้ข้อเสนอแนะในการประเมินความอยู่รอดของวงดนตรีในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ด้วยหลักการ SWOT Analysis ซึ่งเป็นหลักการที่นิยมใช้เพื่อประเมินการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรมาประเมินวงดนตรี ด้วยลักษณะของวงดนตรีมีคุณสมบัติของการเป็นองค์กรทุกประการ หลักการดังกล่าวนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจได้ว่าวงดนตรีนั้น ๆ ควรเดินหน้าต่อไปหรือควรหยุดแล้วค่อยหาโอกาสเริ่มต้นใหม่หลังจากสถานการณ์มีท่าทีดีขึ้น ซึ่งจะประเมินในมุมมองที่หลากหลายเพื่อให้เห็นได้ถึงสภาพจริงของวงดนตรี กล่าวคือ เป็นการประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค โดยครอบคลุมทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน จากประเด็นที่เป็นข้อดีและข้อเสีย

Article Details

How to Cite
สุขวิน ไ. (2021). แนวทางการวิเคราะห์ความอยู่รอดของวงดนตรีในช่วงสถานการณ์โควิด 19. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 384–398. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/254321
บท
บทความวิชาการ

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2564). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: เกศกะรัต.

ทยากร สุวรรณภูมิ และปราการ ใจดี. (2564). ผลกระทบโควิด 19 ต่ออาชีพนักดนตรีกลางคืนในจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์. 9(1), 1 – 12.

พงศ์สันห์ ศรีสมทรัพย์ และชลิดา ศรมณี. (2561). องค์การและการจัดการในภาครัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรนัชชา พุทธหุน. (ม.ป.ป.). การวิเคราะห์องค์การ. เอกสารประกอบการสอน วิชา POL 4317 การวิเคราะห์องค์การ, กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (อัดสำเนา).

วรัชยา ศิริวัฒน์. (2554). การบริหารร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมชัย จิตสุชน. (2564). ผลกระทบทางสังคมของการระบาดโรคโควิด 19 ระลอกใหม่และมาตรการที่ควรมี. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2564. จาก https://tdri.or.th/2021/01/impact-of-new-covid-19-wave/

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). องค์กร. สืบค้น 13 กรกฎาคม 2564. จาก https://dictionary.orst.go.th/

สำเร็จ คำโมง. (2552). รู้รอบครอบจักรวาลดนตรี. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

อารียา โตสุข และจารุวรรณ สุริยวรรณ์. (2564). ผลกระทบต่อธุรกิจดนตรี จากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19). วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. 8(1), 274 – 301.

อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล. (2564). โควิดระลอก 3 ผลกระทบต่อคนไทย ไม่ใช่เรื่องตลก. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2564. จาก https://workpointtoday.com/impact-of-covid/

Cambridge Dictionary. (n.d.). organization. Retrieved 13 July 2021. from https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/organization