การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency–Based Education: CBE) ซึ่งเป็นการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner Centered) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจความถนัดและก้าวหน้าไปตามความสามารถของตน โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงานการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิต สมรรถนะเป็นคุณลักษณะที่ประกอบด้วยความรู้ ทักษะกระบวนการ เจตคติ โดยองค์ประกอบดังกล่าวสามารถดำเนินการโดยผ่านการจัดการเรียนการสอนของครู ครูต้องจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่อิงสมรรถนะ อย่างไรก็ตาม ความรู้ ทักษะ เจตคติ ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อาจไม่ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการทำงาน หากผู้เรียนนั้นขาดความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่ตนมีในการปฏิบัติงาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การขาดความสามารถเชิงสมรรถนะ ดังนั้น ความรู้ทักษะ เจตคติ ที่บุคคลได้เรียนรู้นั้นจะยังไม่ใช่สมรรถนะจนกว่าบุคคลนั้นจะได้แสดงพฤติกรรมแสดงออกถึงความสามารถในการนำความรู้ทักษะ เจตคติ ที่มีในการทำงานหรือการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จในระดับใดระดับหนึ่ง
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (2554). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. สืบค้น 13 สิงหาคม 2563. จากhttp://competency.rmutp.ac.th/.doc.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). คู่มือการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ทิศนา แขมมณี. (2562). หลักสูตรฐานสมรรถนะกับบทบาทของศึกษานิเทศก์แนวใหม่. สืบค้น 1 กันยายน 2564. จากhttps://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency): หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). “การประเมินการปฏิบัติงาน” ในการประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี:21 เซ็นจูรี่.
สุจิตรา ปทุมลังการ์. (2562). ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ. สืบค้น20 กรกฎาคม 2563. จาก http://www.atsn.ac.th/images/Upload/file/CBCApplications.pdf.
อาภรณ์ ใจเที่ยง .(2551). หลักการสอน (ฉบับปรุงปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพหานนคร: โอเดียน สโตร์.