การใช้สารสนเทศเพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ควรพิศ พัฒน์มณี
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์
น้ำทิพย์ วิภาวิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้และปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และเพื่อเปรียบเทียบการใช้และปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำแนกตามเพศ อายุ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และประเภทของโครงงาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 499 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือนักศึกษาที่ไดัรับรางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประเภทมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที       


     การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่เชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีการใช้สารสนเทศเพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีการเข้าถึงสารสนเทศผ่านเครื่องมือช่วยค้นในโทรศัพท์มือถือ และมีปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมากในขั้นตอนการสำรวจเพื่อคัดเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศ พบว่านักศึกษาที่มีอายุต่างกัน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาต่างกัน และประเภทของโครงงานต่างกันจะมีการใช้สารสนเทศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนนักศึกษาที่มีเพศต่างกันจะมีการใช้สารสนเทศที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศ พบว่านักศึกษาที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกัน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาต่างกันและประเภทของโครงงานต่างกันจะมีปัญหาการใช้สารสนเทศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
พัฒน์มณี ค., เชาวกีรติพงศ์ ช. ., & วิภาวิน น. . (2021). การใช้สารสนเทศเพื่อทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(2), 146–160. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/253697
บท
บทความวิจัย

References

เติมศักดิ์ สุวรรณ.(2562). ความรู้เรื่องโครงงาน. สืบค้น 2 ตุลาคม 2562. จาก https://sites. google.com/site/krutermsaksuwan/home/keiyw-kab-khru-teim-sakdi/khwam-ru-reuxng.

นวลจันทร์ บุญหนู. (2555). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิธิมา คงสวัสดิ์. (2558). ผลการใช้รูปแบบการสอนเสริมสร้างคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญรุ่ง แป้งใส. (2556). การใช้สารสนเทศของนักศึกษาและอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 8(1), 50-66.

พรชัย อรัณยกานนท์ และพรจิต อรัณยกานนท์. (2560). ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(2), 151-163.

ภาวนา พุ่มไสว, สถาพร ขุนเพชร, ปรีชา ชัยกุล, และอารีย์ เต๊ะหละ. (2560). การใช้สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาปริญญาตรี. บทความวิจัย. วารสารอัล-ฮิกมะฮุ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 7(13), 81-96.

วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2561). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อังคณา แวซอเหาะ. (2554). การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (การศึกษาอิสระระดับปริญญาตรี). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Adamu Baba Musa. (2016). Factors Affecting The Pattern of Information use by final year Undergraduate Students in Federal University Libraries of North Central, Zone, Nigeria. Library Philosophy and Practice (e-journal). 1554. Form http://digitalcommons.unl.edu/libphilprac/1554.

Adetunla, Gbenga. Q, (2016) Perceived Ease and Use of Electronic Information Resources (Eir) By Undergraduate Students of Private Universities in Oyo State Nigeria. African Journal of Education and Practice, 1(2-1), 15–28.

Agatha Gifty LARSON, & Michal OWUSU-ACHEAW. (2016). Information Needs of Distance Learners: A Case of Winneba Study Center, University of Education, Winneba, Ghana. Turkish Online Journal of Distance Education-TOJDE, 17(3-5), 61-75.

Sola Owolabi, Oluwafemi A. Idowu, CLN, Foluke Okocha, & Atinuke Omotayo Ogundare. (2016). Utilization of Electronic Information Resources by Undergraduate Students of University of Ibadan: A Case Study of Social Sciences and Education. Journal of Education and Practice, 7(13), 30-36.