การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์

Main Article Content

เบญจพร สว่างศรี

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2563 จํานวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ 5) แบบบันทึกพฤติกรรมทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที
          ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) นักศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้แก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ว่ามีความเหมาะสม ข้อค้นพบจากงานวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการเลือกใช้สถานการณ์ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวันที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้กลวิธีที่ไม่เป็นทางการในการหาคําตอบเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างองค์ความรู้ เป็นแนวทางส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทาคณิตศาสตร์
ได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
สว่างศรี เ. . (2022). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 56–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/252488
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2552). สถิติสําหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดา จําปาอ่อน. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2547). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการองค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพิน พิพิธกุล. (2539). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สุพรรษา กลัดน้อย. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยเชื่อมโยงกับงานในด้านพระพุทธศาสนาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุคนธ์ สินธพานนท์วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และ พรรณี สินธพ. (2550). พัฒนาทักษะการคิด: พิชิตการสอน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. ( 2563). ข้อมูลจํานวนนักศึกษาลงทะเบียนประจําปีการศึกษา2563. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตําราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of Educational goals–Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.

Charters, W. W. , & Good, C. V. (1945) . The Dictionary of Education. The Phi DeltaKappan, 27(1), 5-7.

Gurat, M. G. (2018). Mathematical Problem-Solving Strategies among Student Teachers. Journal on Efficiency and Responsibility in Education and Science, 11(3), 53-64.

Intaros, P., Inprasitha, M., & Srisawadi, N. (2014). Students’ problem-solving strategies In problem solving-mathematics classroom. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 116, 4119-4123.

Kim, J. Y. et al., (2018). The role of problem-solving ability on innovative behavior andopportunity recognition in university students. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity, 4(1), 4.

Menanti, H., & Sinaga, B. (2018). Improve Mathematical Connections Skills with Realistic Mathematics Education Based Learning. In 3rd Annual International Seminar on Transformative Education and Educational Leadership ( AISTEEL 2018) (pp.29-35). Atlantis Press.

Pambudi, D. S. et al., (2020). The Role of Mathematical Connections in Mathematical Problem Solving. Jurnal Pendidikan Matematika, 14(2), pp.129-144.

Santos-Trigo, M. (2020). Problem-solving in mathematics education. Encyclopedia of mathematics education, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-15789- 0_129.

Sari, D. N. et al.,. (2020) . Analysis of the ability of mathematical connections ofmiddleschool students in the field of algebra. In Journal of Physics: Conference Series (Vol. 1469, No. 1, p. 012159). IOP Publishing.