การถอดบทเรียนชุมชนปลอดภัยในการเสริมสร้างความปลอดภัยในเด็ก

Main Article Content

วรรณไพร แย้มมา
อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนชุมชนปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานชุมชนปลอดภัยและได้รับรองให้เป็นชุมชนปลอดภัยระดับสากล โดยพื้นที่ในการศึกษา ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร 2) เทศบาลตำบลตลาดเกรียบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่านผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน/ตัวแทน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้นำสาธารณสุขชุมชน/อาสาสมัครหมู่บ้าน ผู้ปกครอง จำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้เทคนิคการอ้างอิงต่อเนื่องจากผู้ที่มีความรู้และความชำนาญ (Snowball Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและแบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม อีกทั้งใช้มุมมองทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม (Structuration Theory) มาพิจารณาความสัมพันธ์และการมีอิทธิพลระหว่างโครงสร้างและผู้กระทำการ


          ผลการศึกษาวิจัยพบแบบแผนปฏิบัติของแต่ละชุมชนที่เอื้อต่อความสำเร็จในการดำเนินงานการพัฒนาชุมชนปลอดภัยในการเสริมสร้างความปลอดภัยในเด็ก ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำ เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญและมีเป้าหมายร่วมในการทำงานเพื่อความปลอดภัยของเด็กในชุมชน 2) การสื่อสาร ใช้รูปแบบในการติดต่อสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจอันจะนำไปสู่เป้าหมายที่ตกลงร่วมกัน เน้นการสื่อสารสองทาง ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 3) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งเป็นปัญหาใกล้ตัวและเกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของคนในชุมชน 4) การเรียนรู้จากการสังเกต ชุมชนมีการเรียนรู้จากการสังเกตทั้งตัวแบบที่ดีและไม่ดี 5) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการรวมคน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสรุปบทเรียน และร่วมรับผลจากการกระทำ 6) มีเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอกชุมชน และเครือข่ายที่เป็นทั้งภาครัฐและเอกชน 7) การทำงานเป็นทีม โดยยึดระเบียบข้อบังคับที่ชุมชนร่วมตั้งขึ้นมา ให้ทั้งคนทำงานและคนในชุมชนปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 8) การจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยทุกคนสามารถทำงานและปฏิบัติตามแนวทางที่ชุมชนวางร่วมกันไว้ เป็นการทำงานที่มีเป้าหมายชัดเจน เน้นการทำงานอย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลาย และ 9) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน อปท. ชุมชน และครอบครัว ล้วนเป็นผู้กระทำการที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันที่จะทำให้เกิดเป็นชุมชนปลอดภัยในเด็ก ภายใต้แบบแผนการปฏิบัติที่ดีของชุมชน โดยทุกคนมีเป้าหมายที่จะพัฒนาชุมชนให้ปลอดภัยในเด็กร่วมกัน 

Article Details

How to Cite
แย้มมา ว., & หงษ์วิทยากร อ. . (2024). การถอดบทเรียนชุมชนปลอดภัยในการเสริมสร้างความปลอดภัยในเด็ก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 138–147. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/276490
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. 2564.

ณัชนันท์ ชีวานนท์. อุบัติเหตุในเด็ก: สถานการณ์ และแนวทางการป้องกัน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 24(3): 1-12.

Suwantip, N., & Witthayawirasak, B. Using participatory action research for injury prevention in child development centers, Suratthani province, Kasetsart Journal of Social Sciences. Available from: https://doi.org/10.1016/j.kjss. 2017.12.003.

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก. กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 15 2566] เข้าถึงได้จาก http://csip.orgBarcelos R. S., Del-Ponte B., & Santos I. S. Interventions to reduce accidents in childhood: a systematic review. Jornal de Pediatria 2018; 94(4): 337-454.

เทศบาลตำบลตลาดเกรียบ. (ม.ป.ป.). เอกสารบรรยายสรุปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตลาดเกรียบปลอดภัย. เทศบาลตำบลตลาดเกรียบ อ.บางประอิน จ.พระนครศรีอยุธยา.

เทศบาลเมืองน่าน. (ม.ป.ป.). เอกสารโครงการส่งเสริมตำบลปลอดภัยเข้มแข็งด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. เทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน.

บุราณี เวียงสิมมา. การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์น้ำคลองแสนแสบ: ชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์ 2557; 32(1): 1-22.

กิตตินันท์ เครือแพทย์ อรพิมพ์ สุขคง วรินทรา ปุรินทราภิบาล และ กานดา จันทร์แย้ม. การคิดริเริ่มการเปลี่ยนแปลงของผู้นำ: ปัจจัยความสำเร็จของการใช้ภาวะผู้นำในการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อให้เกิดชุมชนตัวอย่าง. วารสารศิลปศาสตร์ 2564; 21(2): 409-433.

ทัศนีย์ มณเฑียร ลินดา นาคโปย และ กัญภร เอี่ยมพญา. คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์ 2564; 22(1): 280-294.

ตรงกมล สนามเขต และนิตยา กาบจันทร์. แนวทางการเสริมสร้างทุนชุมชนให้เข้มแข็งสู่การกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยวิชาการ 2565; 5(1): 129-144.

กันตพงศ์ สินอาภา, ปาจารีย์ ซิบังเกิด, วันทนา ฮึกหาญสู้ศัตรู, ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม, ศศิวัลย์ พูลสวัสดิ์, ระ วี จูฑศฤงค์ และ ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ. กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาชุมชนบ้านรางพลับ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2564; 16(2): 313-326.