การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทักษะภาษาจีนของผู้เรียนที่เรียนรายวิชา ระบบเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

Cai Shenglan
Yang Zongxiong
Zhu Lijing
กมลทิพย์ รักเกียรติยศ
กรกมล ธนะโรจน์รุ่งเรือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ในรายวิชาระบบเสียงภาษาจีน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของทักษะภาษาจีนของผู้เรียนที่เรียนรายวิชาระบบเสียงภาษาจีนก่อนและหลังโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผ่านรายวิชาระบบเสียงภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เรียนรายวิชาระบบเสียงภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 37 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน สถิติทดสอบที ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การออกเสียงพยัญชนะต้นสัทอักษรภาษาจีนกลางโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการออกเสียงพยัญชนะต้นสัทอักษรภาษาจีนกลาง และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้การออกเสียงพยัญชนะต้นสัทอักษรภาษาจีนกลาง


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. จากผลวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ค่า E1/E2 ดัชนีประสิทธิผล (EI) ค่าร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนวิชาระบบเสียงภาษาจีน และความคิดเห็นหรือความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพ โดยมีค่าดัชนีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 74.78/86.12 มีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6705 นักศึกษามีคะแนนร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้สูงขึ้น

  2. จากการเปรียบเทียบคะแนนการออกเสียงพยัญชนะต้นสัทอักษรภาษาจีนกลาง ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ พบว่า การออกเสียงพยัญชนะต้นสัทอักษรภาษาจีนกลางหลังจัดการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ที่ใช้แบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้ ซึ่งภาพรวมคะแนนวิชาระบบเสียงภาษาจีนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์พัฒนา คิดเป็นร้อยละ 24.7 และสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. ภาพรวมคะแนนความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยการรวบรวมข้อมูลจากความคิดเห็นหรือความพึงพอใจของนักศึกษาด้านบรรยากาศ ด้านเนื้อหา/กิจกรรมการเรียน และด้านประโยชน์ที่ได้รับ พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.07 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.78)

Article Details

How to Cite
Shenglan, C. ., Zongxiong, Y. ., Lijing, Z. ., รักเกียรติยศ ก. ., & ธนะโรจน์รุ่งเรือง ก. . (2024). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทักษะภาษาจีนของผู้เรียนที่เรียนรายวิชา ระบบเสียงภาษาจีนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 131–137. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/270159
บท
บทความวิจัย

References

Cao Wen.Chinese Phonetic Course. Beijing : Beijing Language and Culture University Press.2002.

Cui Xi Liang.Postgraduate Series of Teaching Chinese as a Second Language/International Chinese Education. Beijing : Beijing Language and Culture University Press.2016

Ding Congming.A Course for Mandarin Chinese Pronunciation.Peking:Peking University Press.2021.

Davies, I.K. The Management of Learning. London: McGraw - Hill.1971.

รุ่งโรจน์ ต้นประดิษฐ์และคณะ. การพัฒนาทักษะการพูดสุนทรพจน์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2560: 10(2): 11-20.

ลลิดา ทองรัตน์. การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยโฟนิกส์ ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Devies) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2563.

วรางคณา เวชพูล. การพัฒนาทักษะปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2559.

ศิรินภา โพธิ์ทอง. ผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์เรื่องการสะกดคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2562.

กรกมล ธนะโรจน์รุ่งเรือง และคณะ. การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กรณีศึกษากลุ่มผู้เรียนที่เรียนวิชาภาษาจีน โรงเรียนหัวหินวิทยาคม. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.) 2562; 21(2): 10-26.