การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจที่มีอิทธิพล ต่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจโดยผ่านความสามารถทางการแข่งขัน ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2

Main Article Content

กฤตพล ดำวงศ์
กฤตชน วงศ์รัตน์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจ ความสามารถทางการแข่งขันและความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจ  2) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขัน 3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจ 4) ความสามารถทางการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจ และ 5) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจโดยผ่านความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนล่าง 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่ายและแบบพหุคูณ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจ ความสามารถทางการแข่งขันและความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจมีอิทธิพลทางบวกต่อความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 84.8 3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจมีอิทธิพลทางบวกต่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจ โดยมีประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 57.6 4) ความสามารถทางการแข่งขันมีอิทธิพลทางบวกต่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจ โดยมีประสิทธิภาพการทำนายได้ร้อยละ 66.9 และ 5) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจมีอิทธิพลทางบวกต่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจโดยมีความสามารถทางการแข่งขันเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วน

Article Details

How to Cite
ดำวงส์ ก., & วงศ์รัตน์ ก. . (2025). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารธุรกิจที่มีอิทธิพล ต่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางธุรกิจโดยผ่านความสามารถทางการแข่งขัน ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(2), 38–47. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/267876
บท
บทความวิจัย

References

กีรติ ยศยิ่งยง. องค์กรแห่งนวัตกรรม: แนวคิด และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์และไพบูลย์ เกียรติโกมล. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. จำนวนและการจ้างงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download /download-20200825165227.pdf.

ทิศานาถ ขุนนาถ ปัญญา สังขวดี วิทยา จันทร์ศิลา และสำราญ มีแจ้ง. รูปแบบการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2558; 17:14-23.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2555-2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/dataset/https-sme-go-th-th-page-php-modulekey-348

Yamane, T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd edition. New York: Harper and Row Publication; 1973.

Likert, R. A Technique for The Measurement of Attitude. In G.F. Summer. Attitudes; 1970.

ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

สุธาสินี ตุลานนท์. การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2562.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. ปัจจัยเหตุและผลของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการ ของประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12; 25 มิถุนายน 2564; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา: 2564. 234-255.

สลิลทิพย์ ไข่เพชรและกฤตชน วงศ์รัตน์. กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2563; 12:81-92.

นิตยา สุภาภรณ์. ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ใน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 2564; 7:43-52.

ศิโรรัตน์ เย็นธะทา. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2563.

เมธสิทธิ์ พูลดี. ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2562.

จุฬาภัทร์ อังศุพาณิชย์และกฤตชน วงศ์รัตน์. อิทธิพลของการจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อความเจริญเติบโตของธุรกิจผ่าน ความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 2565; 13:56-71.

Franklyn C., Joshua O. O., David I. & Mohammed B. R. Management of Information Technology for Competitive Advantage : A Sawy Study. Journal of Scientific Research 2011; 1:121-129.

อัครนันท์ คิดสม. ตัวแปรกำหนดการตัดสินใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในธุรกิจขนาดเล็ก. วารสารบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีมหานคร 2558; 12:37-53.

ชยพล คนบุญ. การศึกษาความคุ้มค่าและความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจโรงแรม : กรณีศึกษาโรงแรม ระดับ 3 ดาว ในกรุงเทพมหานคร. Dusit Thani College Journal 2559; 10:180-195.

บัณฑิตา บุปผาโสภา, พีรวัฒน์ ไชยล้อมและอารีรัตน์ แซ่คู. ผลกระทบของการพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีต่อผลการดำเนินงานองธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2555; 4:129-138.

จักรกฤษณ์ มะโหฬาร, พัทธนันท์ เพชรเชิดชู, ศิริเดช คำสุพรหมและเปรมารัช วิลาลัย. ปัจจัยที่งผลต่อความสำเร็จในการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวิชาชีพบัญชี. วารสารสุทธิปริทัศน์ 2565; 36:80-100.

สุดใจ ผ่องแผ้วและนุจรี ภาคาสัตย์. รูปแบบความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ OTOP ที่เป็น SMEs ในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2559; 9:1659-1675.

สุรเดช นิลอุบล, วรลักษณ์ ลิตศศิวิมล, กอแก้ว จันทร์กิ่งทองและสิริลักษณ์ ทองพูน. ตัวแบบการพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2565; 28:29-43.

ปิยภรณ์ ชูชีพ. ปัจจัยดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย [รายงานวิจัยฉบับบสมบูรณ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2560.

จิตรลดา พันธุ์พณาสกุลและวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร 2562; 16:19-39.

สัญญา ยิ้มศิริและแววมยุรา คำสุข. อิทธิพลของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ไทย [รายงานโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2561]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.