การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชนทุ่งตะกาดพลี ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนทุ่งตะกาดพลี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 350 ราย จากจำนวนประชากร 2,620 ราย โดยใช้สูตรคำนวณของ ยามาเน (Yamane) [8] ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาภูมิทัศน์ชุมชนทุ่งตะกาดพลีในเขตเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ อายุ สถานภาพ และ อาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ปัจจัยในการมีส่วนที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ได้แก่ ด้านความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนด้านความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน ด้านการใช้ประโยชน์จากชุมชน และ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาล เมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2561: 1-2, 68-75, 107
ไตรทศ คูนิอาจ, วิวัฒน์ ฤทธิมา. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านน้ำกระจาย ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 10 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา; วันที่ 12-13 กรกฎาคม 2562; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่: 2562. 1664-1675.
สำนักงานเทศบาลชะอำ. ข้อมูลของชุมชนทุ่งตะกาดพลี. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565] เข้าถึงได้จาก: http://www.cha-amcity.go.th/site/index.php?option=com
ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม, สาทินี วัฒนกิจ. การศึกษาแนวทางการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ น้ำตกน้ำเค็ม จังหวัดตรัง เพื่อการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยจังหวัดสงขลา.วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง ฉบับที่ 18 เล่มที่ 1; 2560: 65-81
สาโรช เผือกบัวขาว. แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปกร. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 2561: 1672-1684
ชุติมา สนขาว. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด; 2559: 2-3
บริษัทลักษ์อาร์คิเทค จำกัด. โครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ ชุมชนทุ่งตะกาดพลีเทศบาลเมืองชะอำ: 2564
Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication. 1973: 125
ชาญศิษฏ์พงษ์ เถื่อนใย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: ศึกษากรณี บ้านพุน้ำร้อน
หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา] กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี 2558: 36-37, 70, 95-99
วิษณุ หยกจินดา. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน]. ชลบุรี. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557: 68-72, 79-81
กุลจิรา เสาวลักษณ์จินดา. การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว :กรณีศึกษาอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี; 2555: 6,63-66
วรรณีศา สีฟ้า. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ กรณีศึกษาน้ำพุร้อน อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี: 9(2) พฤษภาคม-สิงหาคม 2562: 111-121
กิตติชัย ปญฺญาธโร. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์] บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2557: 23, 140-141
ลัดดาวรรณ นนปะติ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารปกครอง: 5(2) กรกฎาคม-ธันวาคม; 2559: 298-299
สิริพัฒน์ ลาภจิตร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ รป.ม. รัฐประศาสนศาสตร์]. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550: 46-47.