การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยว เกษตรวิถีชุมชนห้วยแม่เพรียง ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ณัฏฐนันท์ ศูนย์จันดา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชน ประวัติการจัดตั้งและการพัฒนาเส้นทางเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชน 2) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และ 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนา เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยวเกษตรวิถีชุมชนห้วยแม่เพรียง ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีประสบความสำเร็จ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าภาครัฐ ประธานกลุ่มวิสาหกิจ คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน นักท่องเที่ยว และร้านค้าที่รับสินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และจากเอกสาร ตำรา


          ผลการวิจัยพบว่าบริบทชุมชน ประวัติของกลุ่มการท่องเที่ยวเกษตรวิถีชุมชนห้วยแม่เพรียงจัดตั้งขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเน้นการนำทรัพยากรจากธรรมชาติมาจำหน่าย แปรรูป และเป็นแหล่งเรียนรู้ ส่วนเส้นทางเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชน ประกอบด้วย 3 จุดที่สำคัญ ได้แก่ 1) แหล่งท่องเที่ยวสวนผลไม้ต่าง ๆ 2) แหล่งท่องเที่ยวการส่องนกเงือกและนกต่าง ๆ และ 3) แหล่งท่องเที่ยวปั่นจักรยานชมวิว การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยวเกษตรวิถีชุมชนห้วยแม่เพรียง กลุ่มมีการซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากชุมชนด้วยกันเอง เพื่อเป็นการสนับสนุนผลผลิตของชุมชน ลดต้นทุนในการผลิตและได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ กลุ่มมีการจัดตั้งศูนย์กลาง การผลิต เพื่อควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์มีเพียงพอต่อการส่งออก กลุ่มมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนกลุ่มมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่มีความหลากหลาย กลุ่มมีการสร้างความประทับใจและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัยภายใน พบว่าสมาชิกทุกคนมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนากลุ่ม การจัดตั้งกลุ่ม รวมทั้งการบริหารจัดการภายในกลุ่มร่วมกัน มีการวางแผนการดำเนินงานของกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนร่วมกัน มีกิจกรรมของกลุ่มและการวางระบบภายในกลุ่มร่วมกัน มีการพัฒนากระบวนการผลิตอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดการด้านการเงิน การจัดทำบัญชี ปัจจัยภายนอก พบว่ากลุ่มมีเครือข่ายที่ทำการฝากขาย และได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ด้านปัญหา อุปสรรคในพัฒนา พบว่าคู่แข่งการตลาดมีจำนวนมาก แนวทางในการพัฒนากลุ่มสู่ความสำเร็จ จำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญ กับสมาชิก การตลาด การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการประชาสัมพันธ์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีความสำคัญต่อการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเกษตรวิถีชุมชน การประสานงานระหว่างหน่วยงานให้เกิดความร่วมมือและการสนับสนุนที่ยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ศูนย์จันดา ณ. (2024). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยว เกษตรวิถีชุมชนห้วยแม่เพรียง ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 77–86. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/266660
บท
บทความวิจัย

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินเดือนธันวาคม ปี 2565 และไตรมาสที่ 4 ปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนัก สื่อสารสัมพันธ์ ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย; 2566.

สำนักงานเกษตรนนทบุรี. วิสาหกิจชุมชน. นนทบุรี: รายงานสำนักงานเกษตรนนทบุรี; 2564.

ดาวรุ่ง หล่ำค้าขาย และคณะ. แผนธุรกิจวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยวเกษตรวิถีชุมชนห้วยแม่เพรียง. เพชรบุรี: รายงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการท่องเที่ยวเกษตรวิถีชุมชนห้วยแม่เพรียง; 2565.

มินระดา โคตรศรีวงค์ และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) 2559;9: 1632-1645.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. สงขลา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.

พระปลัดกิตติธัช สีลานุโลโม (กุลระวัง), ไพรัตน์ ฉิมหาด และเดโช แขน้ำแก้ว. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต้นน้ำกลายของหมู่บ้านพัฒนา จังหวัดนครศรีธรรมราชบนฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2565;9: 511-522.

สุธาสินี อัมพิลาศรัย อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า และศิริเดช คาสุพรหม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของหมู่บ้านท่องเที่ยวเมืองรองในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2564;11:2: 101-114.

เมทินี ทะนงกิจ และฐาศุกร์ จันประเสริฐ. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ 2561;14: 1-33.

รัตติยา พรมกัลป์, พระเทพปริยัติเมธี และนัยนา เกิดวิชัย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2562;21: 13-28.

วรรณีศา สีฟ้า. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ กรณีศึกษาน้ำพุร้อน อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2562;9:2: 111-121.

ณฐอัมรัตน์ อินทบํารุง และชมภูนุช หุ่นนาค. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะสมุย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ 2564;9: 82-96.