พฤติกรรมการใช้บริการสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รอบสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

กัญญ์พิชญา พัชระธารินันท์
ปนัดดา ตันเม้ง
ภูวดล เลิศเกียรติรัชตะ
เผ่า ชนะพานิช
งามสิริ วิฑูรย์พันธ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยจิตวิทยาของผู้บริโภคที่มีผลต่อพฤติกรรม 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและวิจัยพฤติกรรมการใช้บริการสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ปัจจัยทางจิตวิทยา ได้แก่ แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ และเจตคติ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยมีนักศึกษาจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน ที่เคยมีประสบการณ์ดื่มสุราในสถานจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้มหาวิทยาลัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิธีการรวบรวมข้อมูลยังใช้การสุ่มแบบโควตาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


          ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 219 คน ที่มีอายุ 20-24 ปี 2) พฤติกรรมการใช้บริการผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้บริการสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สัปดาห์ละครั้ง เวลาที่ใช้บริการเฉลี่ยต่อครั้ง 3 ชั่วโมงขึ้นไป และช่วงเวลาที่ใช้บริการ 21.01 - 22.00 น. 3) ปัจจัยจิตวิทยาของผู้บริโภคที่มีผลต่อพฤติกรรม ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ชื่นชอบบรรยากาศร้าน ดนตรีพนักงานเป็นกันเอง 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล เพศ ระดับการศึกษา รายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านจิตวิทยา พบว่า ด้านแรงจูงใจ การรับรู้ข่าวสาร การเรียนรู้ และทัศนคติ กับพฤติกรรมการใช้บริการสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
พัชระธารินันท์ ก. ., ตันเม้ง ป. ., เลิศเกียรติรัชตะ ภ. ., ชนะพานิช เ. ., & วิฑูรย์พันธ์ ง. . (2024). พฤติกรรมการใช้บริการสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รอบสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 98–105. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/266310
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2549. แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2548 – 2551 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมนคงของมนุษย์ (ปรับปรุงแผนงาน/โครงการงบประมาณ ปี 2550-2551). ม.ป.ท.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา; 2557.

ปิติพงศ์ พิมฑิพิเศษ. สถานบันเทิงกับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน. (นักศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

รัตนะ บัวสรธ์. วิถีชีวิตของผับข้างรั้วมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง. พิษณุโลก: รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร; 2549.

ทิวาวรรณ อายุวัฒน์. พฤติกรรมของผู้หญิงเที่ยวกลางคืน. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต, สาขาสังคมวิทยา, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

สมภพ จันทร์เงิน. พฤติกรรมการเที่ยวสถานบันเทิงกลางคืนของนักศึกษาปริญญาตรีในจังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

Cochran, W.G.Sampling Techniques.2nded.New York: John Wiley and Son, Inc.Kotlet P., and Keller L.Marketing Management.12th ed.Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.

นิภาวรรณ คำแสน, และรณฤทธิ์ แก้วรากมุข. พฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น ตำบล บางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี 2558; 1: 43-51.

ชไมพร ชาญวิจิตร, และดนิตา ดวงวิไล. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง Englishin Daily Life ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ที่มีผลต่อความสามารถด้านการฟังการพูด และความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University; 2018.

ประกิจ โพธิอาศน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ; 2541.

Domjan, M. The principles of learning and behavior. Belmont, CA: Thomson/ Wadsworth. 1996.

พิบูล ทีปะปาล. หลักการตลาดยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค. 2545.

สุธรรม รัตนโชติ. Constructivism: An International Relations Perspective. Veridian E-Journal, SilpakornUniversity (Humanities, Social Sciences and arts), 2014;7(4), 85-90.

วรวรรธน์ วิมลอุดมสิทธิ์. ปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบันเทิงย่านเอกมัยของผู้ใช้บริการสถาน บันเทิงในเขตกรุงเทพมหานคร. 2563.

สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2533.

McCarthy, E. J. and Perreault, W. D. Basic Marketing. Homewood: Irwin. 1993.

โมไนย แมนสรวงรัตน์. พฤติกรรมการเที่ยวผับของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา; มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.