ผลของโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีผลต่อการจัดการความเครียด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ขจรศักดิ์ ฤทธิเดช
ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการจัดการความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญที่มีค่าเฉลี่ยความเครียดอยู่ในระดับ 3 (ระดับมาก) จำนวน 60 คน เพื่อเข้าเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง โปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีผลต่อการจัดการความเครียดตามลำดับขั้น การสร้างเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของไซเพริท 5 ขั้น คือขั้นที่ 1 การเห็นความสำคัญของตนเอง ขั้นที่ 2 ตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ ขั้นที่ 3 ลำดับการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ขั้นที่ 4 ตระหนักถึงพลังอำนาจของการเปลี่ยนแปลงของตน ขั้นที่ 5 เรียนรู้วิธีการเปลี่ยนแปลงตนเอง ในรูปแบบกิจกรรมจำนวน 16 กิจกรรม ใช้เวลาในการร่วมกิจกรรม 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จำนวน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบการจัดการความเครียดด้านความรู้และด้านการปฏิบัติ และแบบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิต (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับคะแนนการจัดการความเครียดก่อนทดลอง หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง โดยการทดสอบภายในกลุ่ม (Paired-Sample t-test) 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับคะแนนการจัดการความเครียดหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยการทดสอบค่าที (Independent Samples t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


          ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการจัดการความเครียดด้านความรู้และการปฏิบัติสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีระดับความเครียดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. "โรคซึมเศร้า" ทำใจพัง เช็กลิสต์สาเหตุและอาการ;2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30114

สุจิตรา อู่รัตนมณี. ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ของนักเรียนวัยรุ่นที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2560;2:78-93.

รุจี ดีอินทร์. การนำเสนอโปรแกรมลดความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2553.

กรองทอง ออมสิน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของวัยรุ่นตอนต้น.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

กนกรัตน์ สุขตุงคะ. ความเครียดและวิธีคลายความเครียด.[ภาควิชาเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล;2545.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. จิตวิทยาการปรับตัว. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ;2547.

วิลาสินี สุราวรรณ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น . [วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2564.

สุชา จันทน์เอม. จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช;2536.

ศิริไชย หงษ์สงวนศรีและพนม เกตุมาน. Game addiction: The crisis and solution;2552 [เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rcpsycht.org/capst/

Lazarus RS. Folkman S. Stress, appraisal and coping. New York : Springer;1984.

รัชนี เสนาน้อย และเสาวคนธ์ วีระศิร. ความเครียดและการปรับตัวของครอบครัวที่มีบุคคลติดเชื้อ,เอชไอวี/โรคเอดส์: การวิเคราะห์กรณีตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีการคืนสภาพครอบครัว. [วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2562.

บรรจง วาที. ความสัมพันธ์ระหว่างความหวัง การเผชิญความเครียด กับคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้ป่วย เอดส์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น;2543

Coopersmith, S. Self-esteem Inventories. Palo Alto, CA : Consulting Psychologist Press;1994.

อังคณา หมอนทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีคุณค่าในตนเองของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2564;2:146-156.

รุจิรา วงศ์วุฒิอักษร. อิทธิพลของสถานการณ์ความเครียดที่มีต่อการประเมินทางปัญญา การเผชิญปัญหาเพื่อการเปลี่ยนแปลง การเห็นคุณค่าในตนเองและความหยุ่นตัวของนิสิตปริญญาตรี, [สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2565.

Jalowiec, A., & Powers, M.J. Stress and coping in hypertension at emergency room patients. Nursing Research;1981.

Cypert, S.A. The Power of Self-esteem. New York : American Management Association Department of Mental Health;1994.

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์. ผลของการใช้โปรแกรมจัดการความเครียดต่อความสามารถจัดการความเครียดและระดับความเครียดของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี. วารสารเกื้อการุณย์ 2562;2:66-77.