การพัฒนาทักษะการบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับสื่อประสม

Main Article Content

ธิดารัตน์ เขจรไชย์
จิตรลดา พลเยี่ยม
อภิญญากุล หาญกุล
วรรณธิดา ยลวิลาศ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการบวกและการลบเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับสื่อประสม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับสื่อประสม และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับสื่อประสม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับสื่อประสม และแบบทดสอบวัดทักษะการบวกและการลบเศษส่วน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric Statistics) ใช้วิธีทดสอบแบบ The Wilcoxon signed - rank test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะการบวกและการลบเศษส่วน มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70.42 อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บวกและการลบเศษส่วน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับสื่อประสม อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เขจรไชย์ ธ. ., พลเยี่ยม จ. ., หาญกุล อ. ., & ยลวิลาศ ว. . (2024). การพัฒนาทักษะการบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับสื่อประสม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 58–65. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/266044
บท
บทความวิจัย

References

เกวลิน ชัยณรงค์. การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2560.

วิธิดา พรหมวงศ์, ทัศนา ประสานตรี, และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์, 2564; 15:200-2013.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย; 2551.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM3_2562.pdf

ปิยนุช อามาตย์. การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อประสม เรื่อง เศษส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2559.

วารุณี เพียรประกอบ. ผลสัมฤทธิ์และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องเศษส่วน ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2557.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น; 2553.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. การเรียนเชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร; 2556.

ธเนศ อินเมฆ. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการบวกและการลบ จำนวนเต็ม โดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยาจังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2559.

มยุรี โรจน์อรุณ. ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2559.

ณฐกร ดวงพระเกษ. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนักศึกษา การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2562; 9:78-89.

ธนัชพร ตันมา. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน โดยใช้เทคนิค กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนรายบุคคลร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. อุตรดิตถ์:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2561.