ผลการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ทักษะการทำงานเป็นทีมและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 3) ศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
อมรรัตน์ เตชะนอก, รัชนี จรุงศิรวัฒน์ และพระฮอนด้า วาทสทฺโท. การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2563;7(9):1-15
ฐิตินันท์ ดาวศรี, พรนภา ทิพย์กองลาด, พีรพล เข็มผง, สมเชาว์ ดับโศรก, สุทธิดา เพ่งพิศ, วรวัฒน์ วิศรุตไพศาล, จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. แนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2565; 11(1) :59-74.
สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. ค่าสถิติพื้นฐานระดับประเทศ ของผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://catalog.niets.or.th/dataset/it-16-23/resource/dbc97310-b634-4451-808d-e68525fee55c
บุญเลี้ยง จอดนอก. ผลการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.
วรันญา วิรัสสะ. การศึกษาหาความสัมพันธ์ของเจตคติต่อวิทยาศาสตร์กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ในจังหวัดสิงห์บุรี สังกัดโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. Pathumthani University Academic Journal 2562; 11(2):130–141.
Bonwell, C & Eison, J. Active Learning: Creating excitement in the Classroom. [Internet]. 1991[cited 30 October 2022]. Available from: https://www.ydae.purdue.edu/lct/HBCU/documents/Active_Learning_Creating_Excitement_in_the_Classroom.pdf
เพ็ญนภา ตลับกลาง. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีสอนกิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขียนเขต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.
ณัฐวุฒิ สกุณี และอัมพร ม้าคะนอง. การพัฒนาเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน. OJED 2018,12(2):50-66. เข้าถึงได้จาก: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110544
จุไรรัตน์ อนันต์ไพฑูรย์, และ เตชาเมธ เพียรชนะ. การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมในรายวิชางานอาหารโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ 2564;8(3):278-289.
สุวรรณโณ ยอดเทพ. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2562
ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10, ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์; 2550.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.
Rathod R. Effectiveness of Activity Based Learning in Chemistry. Bhagwan Mahavir College of Education: India; 2014.
นงเยาว์ เรือนบุตร. เรื่อง การพัฒนาทักษะการเรียนรู้การทำงานกลุ่มโดยใช้กิจกรรม(Activity-based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1. [อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=172288&bcat_id=16
ชยาภรณ์ เคารพไทย. ประสิทธิผลของการใช้กลวิธี Think Pair Share ในการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการจัดกิจกรรมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต 2565; 16(1): 50-63.
ศุภาพิชญ์ มณีสาคร โฟน โบร์แมนน์, วรรณวดี ณภัค และปิยอร วจนะทินภัทร. ผลการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกแบบ Activity Based Learning ต่อการรับรู้การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษและทัศนคติต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 15(1): 35-46.