กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ เพื่อความเป็นพลเมือง ในยุคดิจิทัลสำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

เบญจมาภรณ์ ปัตตะวงค์
นภาเดช บุญเชิดชู
จิตติรัตน์ แสงลิศอุทัย
ดวงใจ ชนะสิทธิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ เพื่อความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล และ 2) รับรองกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์เพื่อความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลสำหรับเด็กปฐมวัยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี แบ่งออกเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์เพื่อความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลสำหรับเด็กปฐมวัย ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษาและครูปฐมวัย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูปฐมวัย ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามภูมิภาค จำนวน 794 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการความจำเป็น การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม โดยการใช้ตัวแบบ 7S และ PEST และการวิเคราะห์ TOWS เมทริกซ์ ระยะที่ 2 การรับรองกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ เพื่อความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา การบริหารสถานศึกษา และการศึกษาปฐมวัย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการนำกลยุทธ์ไปใช้ในโรงเรียน จำนวน 1 โรงเรียน ที่คัดเลือกตามเกณฑ์ของขนาดโรงเรียนและการจัดการเรียนร่วม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูปฐมวัย จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า


          1. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์เพื่อความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การจัดระบบการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 2) การบูรณาการหลักสูตรพัฒนาความเป็นพลเมืองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 3) การยกระดับสมรรถนะของครูปฐมวัยในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา 4) การสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล และ 5) การยกระดับการใช้เทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์


          2. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์เพื่อความเป็นพลเมืองดิจิทัล มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ในการนำไปใช้ และเป็นประโยชน์ การนำกลยุทธ์ไปใช้ในโรงเรียน คือ การสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กมีความพร้อมที่สอดคล้องกับลักษณะทางเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล

Article Details

How to Cite
ปัตตะวงค์ เ. ., บุญเชิดชู น. ., แสงลิศอุทัย จ. ., & ชนะสิทธิ์ ด. . (2024). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ เพื่อความเป็นพลเมือง ในยุคดิจิทัลสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 39–47. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/265162
บท
บทความวิจัย

References

กันตวรรณ มีสมสาร. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 7 2560; 45:56

พนิดา ชาตยาภา. เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 6 2559; 2:161

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2560.

ณัฐิกา สุริยาวงษ์. การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเมื่อต้องเรียนที่บ้าน. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร ปีที่ 5 2565; 1:1-14.

รัฐกูล. 5 ขั้นตอน การประเมินพัฒนาการที่ครูอนุบาลต้องรู้. ค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563. เข้าถึงได้จาก: https://www.rathakun.com/ขั้นตอนการประเมินพัฒนา/.

มารุต พัฒผล. แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้; 2562.

ธัชพงศ์ ชอุ่ม. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับสถานศึกษาเอกชนในบริบทสากล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2563;10:102-110

Clifton J. Boyle lll. The Effectiveness of a Digital Citizenship Curriculum in an Urban School [dissertation]. Doctoral ReQuirements for the Degree Doctor of Education. School of Education. Doctoral Program in Educational Leadership. MO: Johnson & Wales University; 2010.

Chris A. Suppo. Digital Citizenship Instruction in Pennsylvania Public Schools: School Leaders Expressed Beliefs and Current Practices [dissertation]. St. Pennsylvania, MO: Indiana University; 2013.

อนุศรา อุดทะและจิติมา วรรณศรี. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 22 2563;4:1-12.

Wannaasri, J. Quality of education and competencies of desirable teacher. Journal of Education Khon Kaen University. 2009; 32: 1-2.

ชนิพรรณ จาติเสถียร.หน่วยที่ 10 สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนนวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.

Mike S. Ribble & Bailey , G.D. Digital Citizenship in Schools. Eugene, Or: International society for Technology in Education. 2015;3.

กุลชาติ พันธุวรกุล และเมษา นวลศรี. เด็กปฐมวัยกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล: โอกาสหรือความเสี่ยง. วารสารครุศษสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562; ฉบับเพิ่มเติม2:1-23

กาญจนา เดชสม และ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ ปีที่ 31 2564; 1:1-13