การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความก่อนและหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 25 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 25 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสามารถในการอ่านจับใจความด้วยรูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยรูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสามารถในการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ด้วยรูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนอ่าน SQ4R ร่วมกับเทคนิค
ผังกราฟิกโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์; 2555.
ลักขณา เก่วใจ ชวนพิศ รักษาพวก และประมุข ศรีชัยวงษ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการ มีส่วนร่วม
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเขียนได้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2561; 8(1):58-65.
กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการพัฒนาและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2554.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ซี.ซี นอลลิดจ์ลิงคส์; 2554.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. ผลการประเมินการสอบวัดความสามารถของผู้เรียน (LAS) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 5. กาญจนบุรี: กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพป.กจ.3; 2561.
พิรุนเทพ เพชรบุรี. ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2559.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. หลากหลายวิธีสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง; 2562.
จินตนา มั่นคง. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต].พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.
พิบูลย์ ตัญญูบุตร. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
ชลธิดา หงษ์เหม. การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.
กุลวิชญ์ เพิ่มศรี. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2559.
จุฬารัตน์ อินทร์อุดม. การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2561.
ณัฐพร สายกฤษณะ. การพัฒนาความสามารถในการอ่านวิเคราะห์และการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี REAP ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต]. นครปฐม: ศิลปากร; 2563
วิลาสินี สุดแดน. การสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานไฟฟ้า โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต] อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2554.