การเรียนรู้เชิงรุก: แนวคิดร่วมสมัยของการเรียนการสอนยุคความปรกติถัดไป

Main Article Content

วรรณพฤกษ์ เทียมเดช
รพีพรรณ เทียมเดช
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย

บทคัดย่อ

          แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก และแนวคิดห้องเรียนกลับด้านแนวคิดทั้งสองนี้ เป็นแนวคิดสำหรับการจัดการเรียนรู้ในความปรกติใหม่ที่พยายามเปลี่ยนบทบาทผู้สอนจากผู้บรรยายมาเป็นกลุ่มผู้สอนที่ร่วมกันออกแบบกิจกรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากความพลิกผันทางการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย การเรียนรู้เชิงรุกและห้องเรียนกลับด้าน จึงเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมและตอบรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิมไปสู่กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้หรือสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้องเรียน โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการเรียนรู้ และเพื่อที่จะก้าวไปสู่การเรียนรู้ในยุคความปรกติถัดไปได้อย่างมีคุณภาพ จึงมีการนำแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกกับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านมาผสานรวมเข้าด้วยกันในการจัดการเรียนรู้ที่จะต้องเปลี่ยนจากการให้ความรู้ไปสู่การทำให้เกิดการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน ชิ้นงานหรือนวัตกรรมของผู้เรียน โดยเป็นการศึกษาเรียนรู้เนื้อหามาก่อนที่จะเข้าชั้นเรียนผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล จากนั้นจึงนำสิ่งที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้นอกชั้นเรียนมาปฏิบัติภารกิจการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในชั้นเรียน ช่วยเหลือแนะนำ สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ วัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน ทบทวนเนื้อหาหรือการนำความรู้ที่ได้ไปสร้างสรรค์เป็นผลงานหลังการเรียนรู้ ห้องเรียนกลับด้านและการเรียนรู้เชิงรุกจึงเป็นรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างที่มีคุณภาพ

Article Details

How to Cite
เทียมเดช ว. ., เทียมเดช ร. ., & วณิชวัฒนวรชัย ศ. . (2024). การเรียนรู้เชิงรุก: แนวคิดร่วมสมัยของการเรียนการสอนยุคความปรกติถัดไป. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 160–168. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/264673
บท
บทความวิชาการ

References

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์; 2555.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก; 2560.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2562.

ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร, และฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี. การศึกษาในยุค Disruptive Technology. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น 2564; 5; 3:73-86.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. เข้าถึงได้จาก http://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf 20/6/2562

วิจารณ์ พานิช. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์; 2556.

เชรษฐรัฐ กองรัตน์. ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom): การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคความปรกติถัดไป (Next Normal). วารสารราชพฤกษ์ 2565;20;2:1-15.

ภริมา วินิธาสถิตกุล, และชนินันท์ แย้มขวัญยืน. การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย 2565; 6; 3:921-933. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.24

วัชรพล วิบูลยศริน. วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

ทิศนา แขมมณี ศิริชัย กาญจนวาสี พิมพันธ์ เดชะคุปต์ ศรินธร วิทยะสิรินันท์ นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ และปัทมศิริ ธีรานุรักษ์. วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์; 2554.

Mckinney SE. Developing teachers for high-poverty schools: The role of the internship experience. Urban Education 2008; 43; 1:68-82.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน, และเอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2564; 11; 2:38-48.

ยุพิน โกณฑา, และสุกัญญา แพงโสม. การพัฒนาทักษะพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2564; 11; 1:124-133.

เทพยพงษ์ เศษคึมบง. การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาสู่ความปรกติในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19. วารสารรัชตภาคย์ 2565; 15; 44:1-13.

พีชาณิกา เพชรสังข์. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2565; 12; 2:4-13.

McMahon W. The Flipped Classroom 101. [Internet]. 2013. Available from:http://www.downloads.01.smartech .com/media/sitecore/en/pdf/smart_publication/edcompass.pdf

สุรศักดิ์ ปาเฮ. ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. [อินเทอร์เน็ต]. 2556. เข้าถึงได้จาก http://phd mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf

วิจารณ์ พานิช. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์; 2556.

พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร, ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์, และ กิตติพงษ์ พุ่มพวง. แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน: นาฏศิลป์ไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ 2562; 2; 2:56-66.

Bergmann J, Sams A. Flipped Your Classroom Reach Every Student in Every Class Every Day. Technology Coordinators. Curriculum specialists. policy makers; 2012.

Dale E. Audio-Visual Methods in Teaching. 3rd ed. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1969.

ศศิธร บัวทอง. การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ) 2560; 16; 1:1856-1867.

วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. การประเมินการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2560; 6; 2:171-182.

เชรษฐรัฐ กองรัตน์. ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom): การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคความปกติถัดไป (Next Normal). วารสารราชพฤกษ์์ 2565; 20; 2:1-15.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. เข้าถึงได้จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/ Book/1834-file.pdf