การดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงราย

Main Article Content

เด่นศักดิ์ สุริยะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงรายใน 5 ด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินการมากที่สุด คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยการดำเนินการน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งต่อ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่มีกลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นร้อยละมากที่สุด คือ สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับลักษณะปัญหาของนักเรียนได้อย่างเหมาะสมทุก ๆ ด้าน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งด้านวิชาการ และด้านนันทนาการ

Article Details

How to Cite
สุริยะ เ. (2024). การดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(3), 100–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/264514
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสำหรับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2547.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย; 2552.

สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย. รายงานสรุปสภาพปัญหาของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา. เชียงราย: สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย; 2563.

เปมิกา สุขสําราญ. 2564. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการลดพฤติกรรมความก้าวร้าวของนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.วารสารนวัตกรรมการพัฒนาจิตและปัญญา ปที่ 1 ฉบับที่ 1 (กันยายน – ธันวาคม 2564): 64 – 77.

ศตพร เลิศล้ำไตรภพ สาลินี มีเจริญ ละมุล รอดขวัญ และวรรณรี ปานศิริ. 2565. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามทัศนะของครูโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสินปุน โคกหาร พรุเตียว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2565 : 177-188.

กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือระบบดูแลช่วยนักเรียนในช่วงชั้นที่ 1-ช่วงชั้นที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา.

นัฏพันธ์ ดิศเจริญ. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสารศิลปการจัดการ 2565; 2 : 844 – 862.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักการแนวคิด และทิศทางในการดำเนินงาน.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน; 2559.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2558.

กระทรวงศึกษาธิการ. นโยบายปีการศึกษา 2557 – 2558 ปีแห่งการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ; 2557.

ธรรมจักร นิลรักษา เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล และอภิชาติ เลนะนันท์. กลยุทธ์การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2563; 1: 109 – 117.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป; 2559.

อัญทลียา ยอดมั่น อานันต์ ทาปทา และชวนคิด มะเสนะ. สภาพ ปัญหา และแนวทางในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. Journal of Ratchathani Innovative

Social Sciences: Vol.1 No.3 October-December 2017: 22 – 33.