ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียน การสอนที่สร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดเชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา

Main Article Content

ชนาธิป บุบผามาศ
น้ำเพชร เทศะบำรุง
ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง
พระวิทยา ขนชัยภูมิ
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยาก่อนและหลังอบรม 2) ประเมินความสามารถในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมของครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา 3) ประเมินความพึงพอใจของครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยาที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดเชิงรุก การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน (the one group pretest-posttest design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาครจำนวน 10 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยาหลังการอบรม (𝑥̅ = 14.8 , S.D. = 1.13) สูงกว่าก่อนการอบรม (𝑥̅ = 9.5 , S.D. = 2.2) 2) ความสามารถในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมของครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅ = 4.64, S.D. = 0.49)  3) ความพึงพอใจของครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยาที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดเชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.63, S.D. = 0.52)

Article Details

How to Cite
บุบผามาศ ช., เทศะบำรุง น. ., เชื้อตาเล็ง ธ. ., ขนชัยภูมิ พ. ., & สิทธิ์สูงเนิน ช. . (2024). ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียน การสอนที่สร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดเชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูโรงเรียนหลักสองส่งเสริมวิทยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 8–15. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/264470
บท
บทความวิจัย

References

กมล โพธิเย็น. Active Learning: การเรียนรู้ตอบสนองการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2564; 37: 11-28.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, STEM Education. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.stemedthailand.org/?page_id=23.

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545. [อินเทอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/

Charles, C., and James, A.E. Active Learning: Creative Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Reports No. 1. Washington, D.C.; 1993.

Felder, R. and Brent, R. Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching 1996; 88: 43-47.

พีชาณิกา เพชรสังข์. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2565; 35: 4-13.

Chickering, Arthur, W., and Zelda F. G. Seven principles for good Practice. AAHE Bulletin 1987. 39: 3-7.

มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

วงศ์ภิรมย์ ศาปสนติ์. การจัดการความรู้สู่องค์กรการเรียนรู้ (บทเรียนเพื่อขับเคลื่อนงานสุขภาพจิต). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2560.

ชาญณรงค์ ศรีจันทร์. การพัฒนาหลักสูตรสำหรับครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการประดิษฐ์ดอไม้ใบตองเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของนักเรียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

พิมพ์ณัฐชยา เทียนเจษฎา. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณระดับปฐมวัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3. [รายงานการวิจัย]. บุรีรัมย์: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน; 2562.

สำราญ ตั้งศรีทอง, อดิศร เนาวนนท์, และสมร แสงอรุณ. การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ตามแนวคิด

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครรราชสีมา 2565; 63: 214-227.

กิตติภพ สารโพคา, วันเพ็ญ นันทะศรี, และพรเทพ เสถียรนพเก้า. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนนาเดื่อพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2564. 31: 51-68.