แนวทางการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของประเทศไทย

Main Article Content

จงรักษ์ กะรัมย์
ศิริชัย ศรีพรหม
ธารินทร์ ก้านเหลือง

บทคัดย่อ

          การพัฒนากีฬาเพื่อจะก้าวไปสู่ความเป็นเลิศจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบหรือปัจจัยในหลายประการที่จะส่งผลให้เกิดความสามารถพิเศษทางการกีฬาและพัฒนานักกีฬา เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดโดยการนำหลักการบริหารจัดการ หลักวิทยาศาสตร์การกีฬามาช่วยในเรื่องของการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ เพื่อให้สามารถสร้างผลงานด้านการกีฬาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านการกีฬาให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาชาติ เช่นการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเทียบเท่ากับระดับนานาชาติ วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบในการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ โดยมีการสังเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านงบประมาณ 3) ด้านบุคคล 4) ด้านการคัดเลือกนักกีฬา 5) ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยี 6) ด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก 7) ด้านการจัดประสบการณ์การแข่งขัน จากองค์ประกอบทั้ง 7 ด้านนี้จะเป็นแนวทางการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ รวมทั้งการสร้างแนวทางในการพัฒนากีฬาชนิดต่าง ๆ โดยในแต่ละชนิดกีฬาจะมีความเฉพาะเจาะจงของประเภทกีฬาอยู่แล้ว

Article Details

How to Cite
กะรัมย์ จ. ., ศรีพรหม ศ. ., & ก้านเหลือง ธ. . (2024). แนวทางการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 14(1), 169–178. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/264172
บท
บทความวิชาการ

References

สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ; 2561[เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงจาก: https://sto.go.th/th/about/policy/20-year-strategic-plan.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (ปี 2560 - 2564). ครั้งที่พิมพ์ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมองค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://dictionary.orst.go.th.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (ปี 2555 - 2559). [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ; 2555[เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://online.anyflip.com/zzfck/oohf/mobile.

บงกช จันทร์สุขวงค์. แนวทางการจัดการโรงเรียนกีฬาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2563;3:337-350.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564-2570. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2564[เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sat.or.th/wp-content.

รัตนาภรณ์ ทรงพระนาม นภพร ทัศนัยนา สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ และประวิทย์ ทองไชย. รูปแบบการจัดการกีฬาฮอกกี้สู่ความเป็นเลิศระดับนานาชาติสำหรับประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2562;1:111-121.

สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. ครั้งที่พิมพ์ 6. กรุงเทพฯ: : บริษัทวิทยพัฒน์จํากัด; 2558.

Henry Fayol. General and Industrial Management. [Internet]. London; 1949 [cited 2021 November 13] Available from: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190626-poccc-henri-fayol.

ลัดดา เรืองมโนธรรม และสืบสาย บุญวีรบุตร. ปัจจัยและแนวทางการพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศแบบจำลองประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2559;1: 35-48.

แอน มหาคีตะ. แนวทางการปฏิรูปองค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย. วารสารวิชาการ 2562;1:143-155.

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4(พ.ศ.2550-2554). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของสกสค.; 2550.

พฤกษศาสตร์ ลาพุทธา. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกีฬาจักรยานเพื่อความเป็นเลิศ[ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.