การพัฒนาแอปพลิเคชันจัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรัง

Main Article Content

โอปอ กลับสกุล
กิตติภรณ์ สังขโชติ
นิรภัฏ พวงพิกุล
ฐานิดา ขาวฟู

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบแอปพลิเคชันจัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรัง 2) พัฒนาแอปพลิเคชันจัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรัง และ 3) ประเมินความพึงพอใจของการใช้แอปพลิเคชันจัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรังแอปพลิเคชันพัฒนาขึ้นโดยใช้รูปแบบวงจรการพัฒนาระบบ และประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจาก ผู้ประกอบการที่จัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรัง จำนวน 4 คน และลูกค้าที่ใช้บริการร้านจัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรัง จำนวน 149 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 153 คน เกณฑ์กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์และออกแบบแอปพลิเคชันจัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกจังหวัดตรัง ประกอบด้วยขั้นตอนการกำหนดปัญหา การวิเคราะห์ระบบการออกแบบ การพัฒนาระบบ การทดสอบ และการติดตั้ง 2) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 5 ระบบหลัก คือ ระบบสมัครสมาชิก ระบบจัดการร้านค้า ระบบสั่งซื้อสินค้า ระบบรายงานการสั่งซื้อ และระบบตรวจสอบการจัดส่งสินค้า 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชัน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.52, S.D. = 0.66) แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาแอปพลิเคชันจัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรังที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
กลับสกุล โ. ., สังขโชติ ก. ., พวงพิกุล น. ., & ขาวฟู ฐ. . (2024). การพัฒนาแอปพลิเคชันจัดจำหน่ายสินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(3), 64–71. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/264084
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. กรมศุลกากร. รายงานการส่งออกสินค้าหัตถศิลป์ไทย ช่วงเดือน มกราคม –ตุลาคม 2562. [ออนไลน์], สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER6/DRAWER028/GENERAL/DATA0000/00000104.PDF (10 มีนาคม 2564). 2562.

สัมภาษณ์ วนัสนันท์ หนูนิช, นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการจังหวัดตรัง, สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดตรัง, 30 มีนาคม 2564.

สัมภาษณ์ ไสว เรืองดุก, สุนิษา จินากุลวิพัฒน์, และสุภร พรมจิตร์, กลุ่มผู้ประกอบร้านจัดจำหน่าย สินค้าผ้าบาติกในจังหวัดตรัง, 30 มีนาคม 2564.

กริณฑ์วัฏ รักงาม. องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ E-marketplace ของผู้บริโภค กรณีศึกษา Shopee ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2560.

ณปภัช วรรณตรง, และชลลดา มีพวงผล. การพัฒนา Mobile Application ร้านไอศกรีม ด้วยAndroid Studio และ QR Code. วารสารวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ลำปาง,2(3), 3-11: 2561.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช, และพนา จินดาศร. ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24 (2), 5-10: 2564.

มงคล รอดจันทร์, และคณะ. การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค๊ดสำหรับการบันทึก การเข้าเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 5: 2561.

วิไลรัตน์ ยาทองไชย, และคณะ. การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้านและบริการหมู่บ้านท่องเที่ยวไหมจังหวัดบุรีรัมย์ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 16(1), 2-14: 2564.

สุเมธ พิลึก, และจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์. การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปใน เขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. รายงานการวิจัย. นครสวรรค์: บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์: 2563.

หทัยรัตน์ เกตุมณีชัยรัตน์, และคณะ. แอปพลิเคชันการตลาดออนไลน์บนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ กรณีศึกษา บริษัท สวรา อินทิเกรชัน จำกัด. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ: 2562.

กรกช ขันธบุญ, และจิรวัฒน์ พิระสันต์. การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนโดยใช้เทคโนโลยี ภาพเสมือนจริงสำหรับการท่องเที่ยวอุทยาน ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 3-13: 2562.