สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อประโยชน์จากการใช้ สารสนเทศทางการบัญชี ในจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ 2) ศึกษาประโยชน์จากการใช้สารสนเทศทางการบัญชี และ3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจกับประโยชน์จากการใช้สารสนเทศทางการบัญชีในจังหวัดกาญจนบุรี ประชากรใน
การวิจัยได้แก่ บริษัท จำกัด ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เลือกการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 268 บริษัท เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดลอมทางธุรกิจภายในองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.19 และสภาพแวดลอมทางธุรกิจภายนอกองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.07 2) ประโยชน์จากการใช้สารสนเทศทางการบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.18 และ 3) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจภายในองค์กรมีความสัมพันธ์กับประโยชน์จากการใช้สารสนเทศทาง
การบัญชีด้านการ ลดระยะเวลาในการทำงาน ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุน ด้านการแขงขันของธุรกิจ และด้านการวางแผนและตัดสินใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจภายนอกองค์กรมีความสัมพันธ์กับประโยชน์จากการใช้สารสนเทศทางการบัญชีด้านการลดระยะเวลาในการทำงาน ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุน ด้านการแข่งขันของธุรกิจ และด้านการวางแผนและตัดสินใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
ณธัชพงศ์ พิสิษนุพงศ์. สภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างความผูกพันองค์กรของข้าราชการและบุคลากร สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2561; 1:64-78.
โสภณ เพิ่มศิริวัลลภ. กระแสแห่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยีกับวิชาชีพสอบบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี 2559; 34:59-60.
อัญชลี พิพัฒนเสริญ. สารสนเทศและการสื่อสารกรอบการควบคุมภายในโคโซ่ 2013. วารสารวิชาชีพบัญชี 2560; 38:117.
หทัยรัตน์ ศรีสวัสดิ์ ณัฐกานต์ ภาคพรต และกฤษฎา วรพิน. การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับวิธีการสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2563; 3:25-34.
ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. องค์ประกอบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของผู้บริหารทางบัญชีที่ทำงานในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี 2561; 41:5-24.
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. แผนพัฒนา 4 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี พ.ศ. 2561-2564. [อินเทอร์เน็ต]. กาญจนบุรี: กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565] เข้าถึงได้จาก http://plan.kru.ac.th/?p=7744
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนบูรณาการการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภาคตะวันตก. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2565] เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/
Hornsby, J. S., Kuratko, D. F. & Zahra, S. A. (2002). Middle managers’ perception of the internal environment for corporate entrepreneurship: assessing a measurement scale. Journal of Business Venturing 2002; 3: 253-273.
เดือนเต็ม คำเพชร สุนา สุทธิเกียรติ และวิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม ทางธุรกิจกับประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตหนองแขม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 พัฒนางานวิจัย สร้างสรรค์อุดมศึกษาไทย ก้าวไกลสู่ Thailand 4.0; 28-29 กันยายน 2560; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. จังหวัดนครปฐม: 2560. 748-757.
Laudon KC, Laudon JP. Essentials of management information systems: Organization and technology in the enterprise. "4" ^"th" ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall; 2001.
ศศิพร ปาณิกบุตร. ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของเกษตรกรในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2544.
สมยศ นาวีการ. การบริหารเชิงกลยุทธ์. (ฉบับปรับปรุงครั้ง 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991; 2551.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สถิติการจัดทะเบียนนิติบุคคลรายจังหวัดปี 2563. [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพ: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563] เข้าถึงได้จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/area/overview#
Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications; 1973..
Nunnally JC, Bernstein IH. The Assessment of Reliability. Psychometric Theory 1994; 3:248-292.
ธัญกานต์ คชฤทธิ์. การยอมรับระบบคลาวด์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบสารสนเทศการบัญชีภาคธุรกิจ. วารสารศิลปะการจัดการ 2563; 1: 1-2.
Lutfi AA, Idris KM, Mohamad R. The Influence of Technological, Organizational and Environmental Factors on Accounting Information System Usage among Jordanian Small and Medium sized Enterprises. International Journal of Economics and Financial Issues 2016; S7: 240-248.
ธนภัทร กันทาวงศ์. ผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค และกลยุทธ์การแข่งขันต่อการรับรู้ประโยชน์ของระบบสารสนเทศทางการบัญชีของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2559.
Dwirandra AA, Astika IB. (2020). Impact of Environmental Uncertainty, Trust and Information Technology on User Behavior of Accounting Information Systems. Journal of Asian Finance, Economics and Business 2020; 12:1215-1224.
นันทรัตน์ นามบุรี. ตัวแบบประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University 2560; 2:201-220.
นิรชา จันทร์เรือน และคณะ. ความสามารถในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น เชียงใหม่ 2561; 1:1-2.
Rehab U. The Impact of Accounting Information Systems on Organizational Performance: The Context of Saudi’s SMEs. International Review of Management and Marketing 2018; 2: 69-73.