ประสิทธิผลของการใช้น้ำมันยาพระอังคบพระเส้นเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนสำหรับ ผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หลัง

Main Article Content

ธนัฏนัณ อนันตศิริสถาพร
พรทิพย์ พาโน
ซลิตา อินทร์บุญญา
สุนิดา สวัสดี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้น้ำมันยาพระอังคบพระเส้นเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนของผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 24 คน แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับน้ำมันยาพระอังคบพระเส้น กลุ่มควบคุมได้รับยาหลอกคือน้ำมันปาล์ม โดยให้กลุ่มตัวอย่างทาน้ำมันบริเวณคอ บ่า และไหล่ วันละ 2 ครั้ง เวลาเช้าและก่อนนอน ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินระดับความปวด (Visual Analogue Scale: VAS) เครื่องมือการวัดองศาการเคลื่อนไหวของคอ โดยใช้โกนิโอมิเตอร์ (Goniometer) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test Paired-sample t-test Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า อาการปวดหลังส่วนบนสำหรับผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หลัง มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพ ภายหลังการใช้น้ำมันยาพระอังคบพระเส้น ระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 2.8, S.D.= 1.5) ซึ่งแตกต่างกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งอยู่ในระดับไม่ดี (gif.latex?\bar{x}= 6.2, S.D.= 1.8) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( t= 10.00, p<.05) และแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก (gif.latex?\bar{x}= 5.4, S.D.= 1.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( t= -2.03, p<.05) ดังนั้น น้ำมันยาพระอังคบพระเส้นในตำรับพระโอสถพระนารายณ์มีประสิทธิผลในการลดอาการปวดหลังส่วนบน และทำให้องศาการเคลื่อนไหวของคอดีขึ้น

Article Details

How to Cite
อนันตศิริสถาพร ธ. ., พาโน พ. ., อินทร์บุญญา ซ. ., & สวัสดี ส. . (2024). ประสิทธิผลของการใช้น้ำมันยาพระอังคบพระเส้นเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนสำหรับ ผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หลัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(3), 36–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/262666
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือวิธีการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2553.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สรุปผลที่สำคัญสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564.

เจษฎา โชคดำรงสุข. สกัดออฟฟิศซินโดรม. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ; 2560.

ศรินรัตน์ โคตะพันธ์ และศุภมาศ จารุจรณ. โรคออฟฟิศซินโดรมกับศาสตร์การแพทย์แผนไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 12:135-142.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพฯ: บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2552.

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. เครื่องยาสมุนไพร. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553.

ธวัชชัย วรพงศธร. หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

Fleiss, JL. Statistical method for rate and proportions. 2nd ed. New York: John Willey & Sons; 1981.

กิติศักดิ์ รุจิกาญจนรัตน์. อาการปวดหรือเจ็บเข่าทางการแพทย์แผนไทย. วารสารวิจัยทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 1:9-14.

สุพนิดา วินิจฉัย, พัลลภา วุฒิภาพรกุล และ ภารดี อสุโกวิท. ฤทธิ์การต้านอักเสบ ความเป็นพิษ และต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด สมุนไพรของตำรับทาพระเส้นโอสถพระนารายณ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมนวดทาพระเส้นตำรับโอสถพระนารายณ์. การประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ประจำปี 2559; 31 สิงหาคม 2559; อิมแพคอารีน่าเมืองทองธานี. จังหวัดนนทบุรี. 72.

Bang JS, Oh DH, Choi HM, Sur BJ, Lim SJ, Kim JY, Yang HI, Yoo MC, Hahm DH, Kim KS. Anti-inflammatory and antiarthritic effects of piperine in human interleukin 1b-stimulated fibroblast-like synoviocytes and in rat arthritis models. Arthritis Research & Therap 2009; 11: 1-9.

มนตร์ปาจรีย์ ณ ร้อยเอ็ด, พาสินี บัวกุม, เพ็ญพิมล จิตรวุฒิวาสน์ และอุไรลักษณ์ วันทอง. ประสิทธิผลเบื้องต้นของยาทาพระเส้นเพื่อลดอาการปวดเข่าของผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่าทางการแพทย์แผนไทย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก 2562; 17:447-459.

อำพล บุญเพียร, ปฐมา จันทรพล และวรินทร เชิดชูธีรกุล. ประสิทธิผลของการนวดด้วยน้ำมันลูกประคบและน้ำมันปาล์มต่ออาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารวิทยาศาสตร์

คชสาส์น 2562; 41:57-68.

สุภารัตน์ สุขโท, ปริยาภัทร สิงห์ทอง, ภควัต ไชยชิต และวาสนา หลงชิน. ผลระยะสั้นของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ที่มีอาการของโรคลมปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หลัง. วารสารหมอยาไทยวิจัย 2563; 6:1-20.