รูปแบบการจัดกิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษา พุนพิน 4 (ศรีวิชัย) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ณัฐวัชร โปณะทอง
บรรจง เจริญสุข
ญาณิศา บุญจิตร์

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและข้อเสนอแนะในการบริหารกิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษา พุนพิน 4 (ศรีวิชัย) จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษา พุนพิน 4 (ศรีวิชัย) จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษา พุนพิน 4 (ศรีวิชัย) จังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู รวม 106 คน ในศูนย์เครือข่ายการศึกษา พุนพิน 4 (ศรีวิชัย) อำเภอ พุนพิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  และแบบตรวจสอบประสิทธิภาพ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
      ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและข้อเสนอแนะในการบริหารกิจกรรมจิตอาสาฯ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบประกอบด้วย (1) นโยบาย/หลักการการจัดกิจกรรมจิตอาสา (2) วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมจิตอาสา (3) การดำเนินการของรูปแบบ และ (4) แนวทางการประเมินผลการกิจกรรมจิตอาสา และ 3) รูปแบบการจัดกิจกรรมจิตอาสาฯ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. : กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภา;2553.

แสงอาทิตย์ เจ้งวัฒนพงศ์, เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต และปัญญา ธีระวิทยาเลิศ. รูปแบบการพัฒนากิจกรรมที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยด้านจิตอาสาของนักเรียน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหาร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(5):70 - 74.

นิพิฐพนธ์ อุไรวรณ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนน้ำหมัดหาดล้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์; 2563.

เสาวณีย์ เผือกล้อม. รูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาจิตอาสา ของนักเรียนในเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งกะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 2564; 8(1): 125-135.

รวมรอง คนซื่อ และ คนึง เทวฤทธิ์. รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๓ จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. อยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2560.

ศุภวรรณ์ เล็กวิไล, ดวงเดือน เทศวานิช และอารีย์ รังสิโยภาส. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ 2562; 12(2): 29-39.

บุญเรือง กันกรด, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, สมบัติ นพรัก, และสำราญ มีแจ้ง. รูปแบบการบริหารกิจกรรมจิตสาธารณะในโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2556; 5(พิเศษ): 103-112.

จีรเดช ทันตเสถียรวงศ์. รูปแบบการบริหารการสร้างคุณธรรมด้านจิตอาสาของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ; 2563.

พรรษา เอกพรประสิทธิ์. ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 2559; 14(1): 87 – 98.

จุฑารัตน์ จิตซื่อ. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะและประสบการณ์ อาชีพโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษา มัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; 2564.

Eisncr, E. “Education Connoisscurship and Criticism : Their From and Functions in educational Evaluation,” Journal of Aesthetics Education 1976; 10(3/4):135-150.

พิไลวรรณ กลางประพันธ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม; 2561.